Support
Topmulti
02-467-5353,063-373-4722 , 063-373-4723
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2017-05-09 22:08:55.0     Forum: webboard  >  การพิจารณาแม่พิมพ์ออฟเซต

 *การพิจารณาแม่พิมพ์ออฟเซต*

หลังจากทางโรงพิมพ์ได้มีบทความเกี่ยวกับความรู้และประเภทของแม่พิมพ์ออฟเซตมาแล้ว วันนี้เรามาพูดถึงวิธีการพิจารณาแม่พิมพ์ออฟเซตกันบ้าง

ทางโรงพิมพ์ควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพแม่พิมพ์เพื่อผลิตสิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพ

คุณภาพของแม่พิมพ์ออฟเซตที่ต้องพิจารณา

1. คุณภาพของภาพที่ปรากฎ - การพิจารณาจากภาพที่ปรากฎบนสิ่งพิมพ์ ควรจะต้องพิจารณาตาม 

    1.1. ลักษณะเม็ดสกรีน

    1.2. เม็ดสกรีนบวม/กร่อน

    1.3. ความสม่ำเสมอของสีพิมพ์พื้นตาย

    1.4. การผลิตน้ำหนักสี

    1.5. การลดหลั่นน้ำหนักสี

2. อายุการใช้งาน - ต้องคำนึงถึงการสึกกร่อนของแม่พิมพ์ ซึ่งจะเกิดจากแรงกดพิมพ์ระหว่างโมแม่พิมพ์และโมผ้ายาง แม่พิมพ์ต่างชนิดกันมีอายุการใช้งานหรือรอบการใช้งานที่ต่างกัน แต่อาจจะสั้นหรือยาวกว่าอายุการใช้งาน อาจเกิดจาก ชนิดของกระดาษ(กระดาษเคลือบผิวมัน)

3. มลภาวะต่อสภาพแวดล้อม - สมัยก่อนน้ำยาเคมีต่างๆที่ใช้ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์มีความเป็นพิษมาก ดังนั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

4. ความไวแสง - แม่พิมพ์ต่างชนิดมีความไวต่อแสงต่อพลังงานไม่เท่ากัน การเลือกใช้แม่พิมพ์ที่เหมาะสมกับกำเนิดแสงช่วงคลื่นนั้นๆ จึงมีความสำคัญที่จะช่วยลดเวลาฉายแสงลงได้ นับว่าประหยัดเวลาและพลังงาน

guest

Post : 2017-05-08 12:15:43.0     Forum: webboard  >  แม่พิมพ์คอมพิวเตอร์-ทู-เพลต (CTP-Plate)

 แม่พิมพ์คอมพิวเตอร์-ทู-เพลต CTP-Plate

เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในโรงพิมพ์ ต้องการแม่พิมพ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของเลเซอร์ที่ใช้ในเครื่องสร้างภาพนั้นๆและมีความไวสูงขึ้นกว่าแม่พิมพ์สำเร็จรูที่ใช้กันทั่วไป ปัจจุบันเลเซอร์ที่ใช้ในเครื่องสร้างภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. เลเซอร์ช่วงความยาวคลื่นมองเห็นได้ (Visible Lasers)

แม่พิมพ์ที่ออกแบบมาใช้ มี 3 ประเภท ได้แก่

     1.1. แม่พิมพ์ซิลเวอร์-แฮไลด์

     1.2. แม่พิมพ์โฟโตพอลิเมอร์

     1.3. แม่พิมพ์ยูวี

2. เลเซอร์ช่วงคลื่นความร้อน (Thermal Lasers)

แม่พิมพ์แบบนี้เรียกว่าแม่พิมพ์เทอร์มอลหรือแม่พิมพ์ความร้อน โดยจะมี 2 ประเภท คือ

     2.1. แม่พิมพ์ความร้อนแบบเนกาทิฟ

     2.2. แม่พิมพ์ความร้อนแบบพอซิทิฟ

guest

Post : 2017-05-05 00:08:16.0     Forum: webboard  >  แม่พิมพ์สำเร็จรูป

"แม่พิมพ์สำเร็จรูป"

ในบทความที่แล้วเราได้พูดถึงแม่พิมพ์ที่ทำเองหรือ แม่พ่ิมพ์เนกาทิฟและพอสิทิฟ ไปแล้ว ดังนั้นในบทความนี้ทางโรงพิมพ์ขอพูดถึงเกี่ยวกับแม่พิมพ์สำเร็จรูป ว่ามันคืออะไรกันแน่??

 


ในปัจจุบัน โรงพิมพ์ต่างๆได้เริ่มใช้แม่พิมพ์สำเร็จรูปอย่างแพร่หลาย เป็นแม่พิมพ์ที่ทำการเคลือบสารไวแสงมาจากโรงงานผลิต และถูกฉายแสงบางส่วนก่อน โดยที่โครงสร้างสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชั้น ได้แก่

1. ชั้นโลหะ - องค์ประกอบหลักของชั้นนี้ คือ อะลูมิเนียม และจะไปผสมกับ ทองแดง หรือ แมงกานิส เพื่อที่จะเกิดเป็นอะลอย 
อะลอย 1050 ประกอบด้วย อะลูมิเนียมและทองแดง จะทำให้การปรับผิวโดยเฉพาะวิธีทางไฟฟ้าเคมีมีประสิทธิภาพและกันสนิมได้ดี
อะลอย 3003 ประกอบด้วย อะลูมิเนียมและแมงกานีส มีคุณสมบัติ ที่มีความแข็งแรงมาก ทนต่อการโค้งงอ และทนต่อแรงกดได้ดี


***********

ความหยาบของผิวชั้นโลหะ จะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพสิ่งพิมพ์ ถ้าความหยาบน้อยจะทำให้เกิดปัญหาแม่พิมพ์หลุดลอกได้ง่าย

***********

2. ชั้นแอโนไดซ์ - ช่วยป้องกันการสึกกร่อนหรือรอยขีดข่วนที่อาจเกิดบนผิวแม่พิมพ์

 

3. ชั้น Passivating - มีหน้าที่กั้นสารเคลือบไวแสงไม่ให้สัมผัสทำปฏิกิริยากับฐานโลหะโดยตรง และยังเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการเปียกผิวกับน้ำยาเฟาว์เทนอีกด้วย

4. ชั้นสารเคลือบไวแสง - ใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ระบุชนิดของแม่พิมพ์และเพิ่มคอนทราสของภาพ ทำให้ช่างในโรงพิมพ์ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของภาพบนแม่พิมพ์ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของแม่พิมพ์ได้

 

 

 

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

 

guest

Post : 2017-04-30 12:00:33.0     Forum: webboard  >  แม่พิมพ์เนกาทิฟและพอสิทิฟของเครื่องพิมพ์ออฟเซต

 

*แม่พิมพ์เนกาทิฟและพอสิทิฟของเครื่องพิมพ์ออฟเซต*

แม่พิมพ์เนกาทิฟและพอสิทิฟของเครื่องพิมพ์ออฟเซต หรือ รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า Negative and Positive Plates แต่ว่าแม่พิมพ์สองแบบนี้ต่างกันยังไง แล้วในโรงพิมพ์จะนิยมใช้แบบไหนมากกว่า เรามาลองทำความรู้จักกันครับ :)


แม่พิมพ์เนกาทิฟและพอสิทิฟ มีจุดเป้าหมายเดียวกัน คือ การเป็นแม่พิพม์เพื่อสร้างภาพจริงที่อ่านออก

แต่จุดที่ต่างกันคือ 

1. สารเคลือบไวแสงที่มีสมบัติไม่เหมือนกัน โดยสารเคลือบไวแสงเนกาทิฟ เมื่อได้รับพลังงานแสงตอนฉายแสง จะทำให้มีสมบัติแข็งแรงและไม่สามารถละลายได้ด้วยน้ำยาสร้างภาพ เหมาะสำหรับการใช้งานกับฟิล์มต้นฉบับเนกาทิฟ ในขณะที่สารเคลือบผิวพอสิทิฟจะให้ผลตรงกันข้าม

2. บริเวณที่เป็นภาพของแม่พิมพ์เนกาทิฟจะเป็นส่วนที่ใส ดังนั้นจะต้องระมัดระวังไม่ให้ฝุ่นไปเกาะตรงบริเวณใส ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดรอยจุดขาวปรากฎในสิ่งพิมพ์ได้

ในขณะที่บริเวณที่เป็นภาพของแม่พิมพ์พอสิทิฟจะเป็นบริเวณที่ทืบของแม่พิมพ์ ดังนั้น จึงไม่ต้องห่วงฝุ่นเกาะบริเวณภาพ แต่หากฝุ่นไปเกาะบริเวณใสที่ไม่ใช่ภาพ เราสามารถฉายแสงผ่านแผ่นกระเจิงแสงเพื่อลบรอยเหล่านั้นได้

3. การฉายแสง 

การฉายแสงของแม่พิมพ์เนกาทิฟจะทำให้สารเคลือบส่วนที่เป็นภาพแข็งขึ้น ยิ่งฉายนานยิ่งแข็งมากขึ้น ช่างพิมพ์ในโณงพิมพ์จะต้องพิจารณาให้ดี ไม่ให้ฉายแสงน้อยเกินไป ในเชิงปฏิบัติ จะสามารถพบได้ว่า การฉายแสงของแม่พิมพ์เนกาทิฟล็อตเดียวกันจะต้องการเวลาฉายแสงที่ต่างกันด้วย ซึ่งมองแล้วจะดูซับซ้อนและทำให้โรงพิมพ์ต่างไม่นิยม อีกทั้งการฉายแสงแม่พิมพ์เนกาทิฟนานๆจะทำให้ภาพและเม็ดสกรีนขยายใหญ่ขึ้นได้ (เม็ดสกรีนบวม) 

การฉายแสงของแม่พิมพ์พอสิทิฟ จะไม่มีผลต่อความแข็งของสารเคลือบเลย การฉายแสงแม่พิมพ์ชุดใหม่จะต่างกันไม่มาก ดังนั้นการทำมาตรฐานการทำแม่พิมพ์ในโรงพิมพ์จึงเลือกใช้แม่พิมพ์พอสิทิฟ อีกทั้งการฉายแสงนานๆจะทำให้เม็ดสกรีนกร่อนหรือขนาดภาพเล็กลง


หลังจากอ่านจุดแตกต่างระหว่างแม่พิมพ์ทั้งสองแบบแล้ว เรามาสรุปกันสั้นๆดีกว่าทำไมโรงพิมพ์ต่างๆจึงนิยมแม่พิมพ์พอสิทิฟมากกว่าเนกาทิฟ

ข้อได้เปรียบคือ 

1. การที่เม็ดสกรีนกร่อนในการฉายแสงที่นานของแม่พิมพ์พอสิทิฟ ทำให้ลักษณะเม็ดสกรีนมีความคมชัดมากขึ้นพร้อมกับขนาดลดลง ถือว่าเป็นประโยชน์ในการชดเชยของเม็ดสกรีนบวมในขณะพิมพ์

2. ส่วนที่เป็นภาพ(สารเคลือบ) บนแม่พิมพ์พอสิทิฟ สามารถเพิ่มความแข็งแรงและทนต่อการสึกกร่อนได้ด้วยการนำไปอบความร้อนที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส หลังจากการสร้างภาพแล้ว

3. การรักษาดูแลไม่ให้โดนฝุ่นของแม่พิมพ์พอสิทิฟจะไม่ลำบากต่อโรงพิมพ์ เท่ากับแม่พิมพ์เนกาทิฟ

 

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-27 22:32:48.0     Forum: webboard  >  แม่พิมพ์ออฟเซต

*แม่พิมพ์ออฟเซต (Printing Plate)*

 

แม่พิมพ์ออฟเซตสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ 

1. แม่พิมพ์ทำเอง หรือ wipe-on-plate

แม่พิมพ์ทำเอง เป็นแม่พิมพ์ที่ต้องใช้ทันทีหลังจากผ่านการเคลือบผิวและแห้งแล้ว

2. แม่พิมพ์สำเร็จรูป หรือ แม่พิมพ์พรีเซนซิไทซ์ (Presensitized Plate)

แม่พิมพ์พรีเซนซิไทซ์ เป็นแม่พิมพ์ที่ทำการเคลือบสารไวแสงมาจากโรงงานผลิต และถูกฉายแสงบางส่วนก่อน เพื่อความแข็งแรงของสารเคลือบและทำให้ใช้เวลาฉายแสงน้อยลงอีกด้วย


ซึ่งโดยปกติแล้ว แม่พิมพ์ที่แพร่หลายในหมู่โรงพิมพ์ คือ แม่พิมพ์สำเร็จรูป

เนื่องจากโรงพิมพ์จะสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน และ สะดวกในการใช้ผลิตสิ่งพิมพ์มากกว่าแม่พิมพ์ทำเอง 


แม่พิมพ์ที่ดี คือ แม่พิมพ์ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ การแยกส่วนที่เป็นภาพและที่ไม่ใช่ออกจากกันได้อย่างชัดเจน โดยให้ส่วนที่เป็นภาพหรือส่วนที่เคลือบมีความหนา 2 ไมครอน และเข้ากันกับหมึกได้ดี

ส่วนที่ไม่ใช่ภาพ ที่เป็นผิวโลหะของแม่พิมพ์จะต้องเข้ากับน้ำยาเฟาว์เทนได้ดี


ผิวแม่พิมพ์จะต้องเรียบพอเพื่อให้ภาพมีความคมชัดและละเอียด และควรมีสมบัติต้านทานแรงกดได้ดี ร่วมถึงการต้านการสึกกร่อนจากการสัมผัสกับหมึก

 

 

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-25 19:10:10.0     Forum: webboard  >  หน่วยทำแห้งเครื่องพิมพ์ออฟเซต

”หน่วยทำแห้ง“

หน่วยทำแห้งมีหน้าที่ทำให้หมึกหรือสารเคลือบแห้ง เซ็ตตัวได้ทันก่อนที่จะถูกส่งไปหน่วยต่างๆของเครื่องพิมพ์ ซึ่งโดยปกติแล้วหมึกหรือสารเคลือบจะแห้งตัวด้วยการออกซิเดชั่น หรือ ระเหยไปเอง บางครั้งในเครื่องพิมพ์ออฟเซตในโรงพิมพ์อาจจะไม่ต้องมีหน่วยทำแห้ง แต่ช่างพิมพ์จะต้องมีประสบการณ์ในโรงพิมพ์มาพอสมควร เพราะจะต้องสามารถตั้งความเร็วในการพิมพ์ให้พอดีกับเวลาที่หมึกแห้งหรือเซ็ตตัวได้ทันก่อนจะถูกส่งไปหน่วยอื่น ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดซับหลัง หรือ set off

หน่วยทำแห้งส่วนใหญ่ในเครื่องพิมพ์ออฟเซต จะถูกออกแบบมาใช้กับหมึกยูวี ซึ่งจะแห้ง เซ็ตตัวด้วยความร้อน (Heat Set)

หน่วยทำแห้งมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. หน่วยทำแห้งยูวี เหมาะสำหรับโรงพิมพ์ที่ใช้หมึกพิมพ์ยูวี ที่แห้งยากถ้าปล่อยให้แห้งโดยออกซิเดชั่น

2. หน่วยทำแห้ง IR เหมาะสำหรับใช้กับวาร์นิช และสารเคลือบฐานน้ำ น้ำจะดูดได้ดี ทำให้ระเหยได้เร็ว

3. หน่วยทำแห้งลมร้อน ในบางโรงพิมพ์อาจจะใช้หน่วยพิมพ์ลักษณะนี้แทนการใช้ หน่วยทำแห้ง IR

 

 

 

 

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-18 18:14:49.0     Forum: webboard  >  หน่วยทำชื้นเครื่องพิมพ์ออฟเซต

"หน่วยทำชื้น"

  • หน้าที่ของหน่วยทำชื้นในระบบพิมพ์ออฟเซต คือ ถ่ายโอนน้ำยาเฟาว์เทนไปเกาะเป็นชั้นฟิล์มบางๆที่ผิวแม่พิมพ์

  • โดยส่วนที่ไม่ใช่ภาพ น้ำยาจะยึดติดกับผิวแม่พิมพ์ ป้องกันไม่ให้รับหมึก ไม่งั้นจะเกิดภาพเปื้อนรอยคราบหมึก หรือเรียกว่า Scum

  • และส่วนที่เป็นภาพ น้ำยาจะไม่ยึดติดกับผิวแม่พิมพ์เพราะไม่มีพันธะเคมี ดังนั้นน้ำยาจะลงไปแขวนลอยในเนื้อแทน เรียกว่า เกิดอิมัลชั่น (Emulsion) โดยที่อัตราส่วนการรวมตัวถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและสำคัญ เพราะจะมีผลต่อ ระยะเวลาในการเกิดจุดสมดุลของอิมัลชั่นระหว่างการพิมพ์ และ อัตราการระเหยของน้ำยาออกจากหมึกพิมพ์หลังจากที่ถูกถ่ายโอนไปโมผ้ายางและกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์

  • อัตราส่วนควรจะอยู่ที่ประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ ถ้ามากเกินไป จะมีผลต่อคุณภาพสิ่งพิมพ์ เช่น เม็ดสกรีนพร่า บางทีที่ขอบเม็ดสกรีนเกิดรอยแยกเป็นแฉกคล้ายเกล็ดหิมะ (snow flake)

  • ข้อสังเกต การรวมตัวของหมึกพิมพ์กับน้ำยาเฟาว์เทน จะช่วยทำให้การแยกชั้นหมึกในการถ่ายโอนของหน่วยจ่ายหมึกทำได้ง่ายและควบคุมได้

ประเภทของหน่วยทำชื้นมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. หน่วยทำชื้นทางตรง (Direct dampening system)

2. หน่วยทำชื้นทางอ้อม (Indirect dampening system) 


1. หน่วยทำชื้นทางตรง 

- ลูกกลิ้งเหล็กรางน้ำจะทำหน้าที่ถ่ายโอนน้ำยาเฟาว์เทนไปยังลูกกลิ้งดัคเตอร์ที่สามารถยกขึ้นลงและเคลื่อนที่หน้าหลังได้ ไปแตะลูกกลิ้งเกลี่ยน้ำ

- หลังจากนั้นถ่ายโอนน้ำยาเฟาว์เทนต่อไปยังลูกกลิ้งน้ำแตะเพลตสองลูก

- โดยลูกกลิ้งดัคเตอร์และลูกกลิ้งน้ำแตะเพลตมีผ้าหุ้ม ช่วยซับน้ำยาเฟาว์เทนไม่ให้ระเหยเร็วไป

* ข้อจำกัด ของหน่วยทำชื้นแบบทางตรง คือ การทำงานของลูกกลิ้งดัคเตอร์ไม่ต่อเนื่อง ทำให้เสียเวลาในการเพิ่มลดปริมาณน้ำยา และอาจจะทำให้ตัวผ้าหุ้มลูกกลิ้งอาจเปื้อนหมึกได้ ทำให้ถ่ายโอนไปโดนรางน้ำยาเฟาว์เทนได้ ยังสามารถย้อนกลับไปลูกกลิ้ง จนทำให้เกิดสีพื้นอ่อนในที่ไม่ใช่ภาพเรียกว่า ขึ้นพื้น (Tinting)

2. หน่วยทำชิ้นทางอ้อม

- หมึกพิมพ์กับน้ำยาเฟาว์เทนจะผสมกันบางส่วน รวมตัวกันก่อน แล้วค่อยถ่ายโอนไปยังแม่พิมพ์ ทำให้ถึงจุดสมดุลเร็วขึ้นระหว่างการพิมพ์ ถือเป็นข้อดีกว่ารูปแบบทางตรง และ ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโรงพิมพ์ต่างๆ

- ซึ่งแบบทางอ้อมจะต่างจากทางตรง ตรงที่ ลูกกลิ้งน้ำแตะเพลตจะมีเพียง 1 ลูกที่รับน้ำยาเฟาว์เทนโดยตรงมาจากลูกกลิ้งเกลี่ยน้ำ ลูกกลิ้งหมึกแตะเพลตที่ 1 จะทำหน้าที่แทนลูกกลิ้งน้ำแตะเพลตลูกที่สอง แต่ก็ยังรับน้ำยาเฟาว์เทนมาเหมือนกับรับหมึก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ระบบทางอ้อม

 

**ข้อสังเกต**

การใช้ Alcohol ผสมกับน้ำยาเฟาว์เทน จะทำให้ระเหยเร็ว ซึ่งหมายความว่าจะผลิตงานความเร็วสูงได้ อีกทั้งยังลดปัญหากระดาษยืด จ่ายน้ำยามากไป และ ภาพเม็ดสกรีนคมชัด แต่การใช้ Alcohol อาาจจะเป็นผลต่อสุขภาพ ของบุคลากร หรือ ช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์นั้นเอง จึงต้องเลือกใช้สารละลายที่เหมาะสม

สำหรับเครื่องพิมพ์ป้อนม้วน ต้องมีความเร็วสูงและต้องดี ดังนั้นเป้าหมายคือ การถ่ายโอนน้ำยาไปยังแม่พิมพ์สม่ำเสมอ เท่ากัน และต่อเนื่อง ในระหว่างการพิมพ์

 

 

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-15 13:27:42.0     Forum: webboard  >  หน่วยจ่ายหมึกเครื่องพิมพ์ออฟเซต

"หน่วยจ่ายหมึก"

  • หน้าที่หลักของหน่วยจ่ายหมึกชัดเจนอยู่แล้วในชื่อของตัวมันเอง นั่นคือทำหน้าที่ถ่ายโอนหมึกจากรางหมึกไปยังโมแม่พิมพ์ ผ่านลูกกลิ้งจำนวนมาก เพื่อช่วยวบควบคุมความหนาของชั้นหมึกให้ได้ตามที่ต้องการเพื่องานสิ่งพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน 

  • “ความหนาชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์ในอุดมคติ” ที่ควรจะอยู่บนกระดาษควรจะมีค่าอยู่ที่ 1 ไมครอน เช่นเดียวกับความหนาชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์บนโมผ้ายางซึ่งควรจะมีความหนาที่ 1 ไมครอนเพราะว่าชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์ออฟเซตควรจะถูกถ่ายโอนจากผ้ายางไปยังผิวกระดาษทั้งหมด ซึ่งทำให้ความหนาชั้นฟิล์มของหมึกบนแม่พิมพ์จึงควรเป็น 2 ไมครอน เนื่องจาก หมึกจากลูกกลิ้งหนึ่งไปอีกลูกกลิ้ง ความหนาของหมึกพิมพ์จะถูกแยกออกครึ่งนึง

  • สาเหตุที่เราต้องการชั้นหมึกที่บาง เพราะว่าความบางนี่เองที่จะช่วยให้ชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์มีความโปร่งใสมาก เมื่อพิมพ์ซ้อนทับกันหลายชั้นหรือหลายสี (พิมพ์ 4 สี) จะทำให้ผสมกันให้เฉดสีที่ถูกต้องโดยไม่สูญเสียรายละเอียดของภาพ

**********

      การที่จ่ายหมึกได้ชั้นฟิล์มที่บางได้นั้น ถือเป็นข้อได้เปรียบข้อนึงของระบบการพิมพ์ออฟเซตที่เหนือกว่าระบบการพิมพ์อื่น ๆ นอกจากนี้คุณภาพงานที่ดีจะขึ้นอยู่กับ สมบัติความหนืดและค่าความถ่วงจำเพาะ (Bulk) ของหมึกพิมพ์ อีกด้วย โดยจะต้องสัมพันธ์กับจำนวนลูกกลิ้งในระบบจ่ายหมึกด้วย

**********

 

ลูกกลิ้งต่าง ๆในหน่วยจ่ายหมึก ประกอบด้วย

  • ลูกกลิ้งเหล็กรางหมึก (Ink Fountain Roller)

  • ลูกกลิ้งดัคเตอร์ (Ducter Roller) - สามารถยกตัวได้ ซึ่งแตะระหว่างลูกกลิ้งรางหมึกกับลูกกลิ้งถ่ายโอนหมึก

  • ลูกกลิ้งถ่ายโอนหมึก (Ink Transfer Roller)

  • ลูกกลิ้งเฉลี่ยหมึก (Ink Distributer Roller) - เคลื่อนที่ซ้ายขวาระหว่างลูกกลิ้งหมุนไปด้วย

  • ลูกกลิ้งไรเดอร์ (Rider Roller) – ให้ช่างพิมพ์สามารถปรับปริมาณหมึกได้ด้วยมือ

  • ลูกกลิ้งหมึกแตะเพลต 4 ลูก (Ink Form Rollers) – โดยจะมีขนาดที่ต่างกัน เพื่อช่วยให้จ่ายหมึกบนแม่พิมพ์มีความสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น ป้องกันการเกิดภาพหลอก (Ghost Image)

 

วัสดุที่สามารถนำมาใช้ทำลูกกลิ้ง คือ เหล็ก ยาง และ พอลิเมอร์แข็ง โดยลูกกลิ้งที่ติดกันจะต้องไม่ใช่ลูกกลิ้งที่ทำมาจากวัสดุเดียวกัน

แรงเบียดระหว่างลูกกลิ้งมีความสำคัญ ใช้ระยะ nip width หรือความกว้างของแถบหมึกที่แนวลูกกลิ้งทั้งสองเบียดกันเป็นเกณฑ์กำหนด โดย หน่วยคือ มิลลิเมตร แตกต่างกันออกไประหว่างลูกกลิ้งคู่หนึ่งๆ ตามคู่มือที่มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์

 

***ถ้าค่าแรงเบียดไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดการแยกชั้นหมึกไม่เหมาะสม ความหนาของชั้นหมึกไม่เป็นไปตามที่ต้องการ รวมทั้งยังจะทำให้เครื่องพิมพ์ไม่สมดุล อาจจะทำให้ลูกปืนของแกนลูกกลิ้งเหล่านี้สึกกร่อน เสื่อมสภาพได้***


ข้อสังเกต

  1. หน่วยจ่ายหมึกพิมพ์ที่ดีควรจะมีระบบหล่อเย็นในหน่วยด้วย เพื่อที่จะควบคุมอุณหภูมิของเนื้อพิมพ์ไม่ให้สูงเกินไป ( 25-30 องศาเซลเซียส ) โดยปกติแล้ว ลูกกลิ้งหมึกที่ทำจากโลหะมักจะมีระบบหล่อเย็นอยู่ภายใน

  2. ความแข็งของผิวลูกกลิ้งยาง จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เกินค่าที่กำหนดมาจากโรงงาน ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการถ่ายโอนหมึกไม่คงที่

 

 

 โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-10 22:14:28.0     Forum: webboard  >  หน่วยพิมพ์เครื่องพิมพ์ออฟเซต

"หน่วยพิมพ์ (Printing Unit)"

ส่วนที่สำคัญที่สุดสิ่งนึงของเครื่องพิมพ์ออฟเซต คือ หน่วยพิมพ์ออฟเซต หรือ เรียกว่า Printing Unit

หน่วยพิมพ์ของระบบพิมพ์ออฟเซตมี 3 โมหลัก(ลูก) คือ โมแม่พิมพ์(Plate Cylinder) โมผ้ายาง(Blanket Cylinder) และโมกดพิมพ์(Impression Cylinder)

การทำงานของ 3 โมหลักในการผลิตสิ่งพิมพ์ออฟเซตคือ โมแม่พิมพ์จะทำหน้าที่รับน้ำก่อนจากหน่วยทำชื้น(Dampening Unit) ตามด้วยหน่วยจ่ายหมึก(Inking Unit) พอผ่านจุดนี้ บริเวณภาพและบริเวณที่ไม่ใช่ภาพจะถูกแยกออกจากกัน เพื่อให้หมึกไปต่อ โมผ้ายาง ในขณะที่กระดาษวิ่งผ่านระหว่างโมผ้ายางกับโมกดพิมพ์เพื่อรับหมึกพิมพ์

***โดยต้องมีการควบคุมแรงกดพิมพ์ให้เหมาะสม***

 

โดยโครงสร้างที่น่าสนใจของหน่วยพิมพ์ออฟเซต คือ 

1. การเรียงตัวของโมหลักทั้งสามโม ทั้งแบบ 7 นาฬิกา และ แบบ 5นาฬิกา

2. ประเภทของหน่วยชื้น

3. จำนวนลูกกลิ้งของหน่วยจ่ายหมึก

4. ชนิดและสมบัติของแม่พิมพ์ น้ำยาเฟาว์เทนและผ้ายางที่ใช้ในการพิมพ์

5. การตั้งแรงกดพิมพ์

เป็นต้น

***********

โดยการเรียงของโมหลักทั้งสาม แบบ 7 นาฬิกาได้เปรียบมากกว่าแบบ 5 นาฬิกา ในเรื่อง "การขยายขนาดของโมกดพิมพ์" ให้เป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า ของขนาดโมปกติ ทำให้สามารถเพิ่มความเร็วในการพิมพ์สูงสุดของเครื่องได้ พร้อมกับระยะส่งกระดาษไปยังหน่วยพิมพ์ข้างหน้าไม่มากเกินไป ทำให้รักษาระบบรีจีสเตอร์ในการพิมพ์หลายสีได้ดี

***********

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-09 00:34:09.0     Forum: webboard  >  หน่วยป้อนกระดาษเครื่องพิมพ์ออฟเซต

"หน่วยป้อน (Feeding Unit)"

หน่วยป้อนในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น มี 2 ลักษณะ คือ 

1. การป้อนแผ่นแบบต่อเนื่อง (Stream Feeding)

การทำงานของหน่วยป้อนแผ่นแบบต่อเนื่อง มีหน้าที่ แยกแผ่นกระดาษส่วนบนออกจากท้ายกองกระดาษด้วยหัวลมเป่า แล้วดูดแผ่นกระดาษบนสุดด้วยหัวลมดูด ยกขึ้นและส่งกระดาษให้เคลื่อนที่ผ่านลูกกลิ้งเข้าแผ่นกระดานป้อน ไปยังฉากหน้าและฉากข้าง ก่อนที่กระดาษจะเข้าสู่หน่วยพิมพ์ และการป้อนแผ่นแบบต่อเนื่องนั้นสามารถให้ความเร็วสูงได้

2. การป้อนแผ่นแบบป้อนทีละแผ่น (Single Sheet Feeding)

แบบป้อนทีละแผ่นจะมีราวโลหะติดหัวลมดูดอยู่ที่ด้านบนของกองกระดาษส่วนหน้า ดูดกระดาษแผ่นบนทีละแผ่น แล้วยกกระดาษให้เคลื่อนที่ผ่านลูกกลิ้งเข้าแผ่นกระดานป้อนไปยังฉากหน้าและฉากข้าง

**********

หน่วยป้อนที่ดีจะช่วยให้ระบบรีจีสเตอร์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตมีความแม่นยำตามไปด้วย และทำให้ไม่เกิดปัญหากระดาษซ้อน

เครื่องพิมพ์ใหม่ๆของแบบการป้อนแผ่นแบบต่อเนื่อง นั้น แผ่นกระดานป้อนจะใช้ระบบลมดูดบนสายพานควบคุมการเคลื่อนที่ของแผ่นกระดาษ แทนการใช้ลูกกลิ้งในการเคลื่อนที่กระดาษ

เครื่องพิมพ์แบบป้อนทีละแผ่นส่วนใหญ่จะอยู่ในเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กและความนิยมจะเริ่มลดลง

**********

หน่วยป้อนในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

ส่วนเครื่องพิมพ์ป้อนม้วน หรือเรียกว่า Reel Stand จะมีฟังก์ชันคลายม้วน (Unwind) โดยใช้มอเตอร์ควบคุมการหมุน มีระบบต่อม้วนกระดาษอัตโนมัติ (Autopaster) เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทั้งนั้น หน่วยป้อนแบบม้วนที่ดีจะต้องมีฟังก์ชันควบคุมแรงตึง (Tension Control)ของม้วนกระดาษที่เคลื่อนที่ออกให้คงที่ตลอดเวลาผ่านอุปกรณ์ Web Break และ ลูกกลิ้ง Dancing Roller

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-07 22:38:55.0     Forum: webboard  >  กลไกการป้อนกระดาษ

กลไกการป้อนกระดาษ

การที่เราเรียกชื่อเครื่องพิมพ์เช่น เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบบหน่วยพิมพ์เรียงแถว แบบหน่วยพิมพ์ตั้งซ้อน หรือ แบบโมกดพิมพ์ร่วม นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับแบบโครงสร้างของเครื่องพิมพ์อย่างเดียว

การเรียกชื่อเครื่องพิมพ์ยังจะต้องพิจารณา กลไลการป้อนกระดาษอีกด้วย ซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. แบบป้อนแผ่น

แบบป้อนแผ่น ถูกออกแบบมาเพื่อให้พิมพ์งานจำนวนไม่มากเกินไป เช่น หนังสือ วารสาร นิตยสาร และ แบบฟอร์มทั่วไป เป็นต้น

ในระบบแบบป้อนแผ่น การควบคุมรีจีสเตอร์ใช้ระบบฉากหน้าฉากข้างด้วยกลไลทางแมคานิคและดิจิทัล เครื่องบางรุ่นมีฟังก์ชันกลับกระดาษในตัว หรือเรียกว่าการ Perfecting ทำให้พิมพ์ได้ 2 หน้า ต่อเนื่องกัน ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือ ดังนั้นเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะเรียกว่า Perfecting Press

2. แบบป้อนม้วน

แบบป้อนม้วน ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการพิมพ์จำนวนมากๆ จำนวนแสนถึงล้านแผ่นขึ้นไป ด้วยความเร็วสูง ซึ่งออกมาใช้งานได้ 2 ลักษณะ คือ Coldset กับ Heatset ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับหมึกพิมพ์

Coldset - หมึกแห้งด้วยการซึมผ่าน (Penetration) เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์

Heatset - หมึกแห้งด้วยการระเหย (Evaporation) ใช้ความร้อนมาช่วย เช่น นิตยสาร วารสาร แคตตาล็อค พวกกระดาษเคลือบผิว

 

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-06 22:59:16.0     Forum: webboard  >  การออกแบบโครงสร้างของเครื่องพิมพ์ออฟเซต

การออกแบบโครงสร้างของเครื่องพิมพ์ออฟเซต

ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายเกิดขึ้นใหม่และยังมีผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ โรงพิมพ์ 

แต่การออกแบบโครงสร้างของเครื่องพิมพ์ออฟเซตนั้นจะมีหลักๆอยู่แบบ คือ

1. แบบหน่วยพิมพ์เรียงแถว (Inline)

2. แบบหน่วยพิมพ์ตั้งซ้อน (Stack Type)

เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบบหน่วยพิมพ์ตั้งซ้อน เป็นการพิมพ์ 2 หน้าพร้อมกัน โมผ้ายางของแต่ละหน่วยพิมพ์จะหันเข้าชนกัน

ส่วนมากใช้พิมพ์หนังสือพิมพ์ หนังสือเรียน บางทีสามารถเรียกเครื่องพิมพ์ประเภทนี้อีกชื่อนึงว่า เครื่องพิมพ์ Blanket-to-Blanket

3. แบบโมกดพิมพ์ร่วม (Satellite Type)

เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบบโมกดร่วมพิมพ์ร่วม จะถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ประเภท Digital Imaging (DI) ซึ่งสามารถสร้างภาพทำแม่พิมพ์บนเครื่องพิมพ์ได้เลย ส่วนที่น่าสนใจของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ คือ บริเวณไม่ใช่ภาพของแม่พิมพ์ จะถูกเคลือบด้วยสารประกอบซิลิโคนที่มีคุณสมบัติ ต้านรับหมึก ทำให้หน่วยพิมพ์ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยทำชื้น ซึ่งเราสามารถเรียกการพิมพ์แบบนี้ว่า การพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ หรือ Waterless Offset Printing

 

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-05 17:24:31.0     Forum: webboard  >  โครงสร้างของระบบการพิมพ์ออฟเซต

โครงสร้างของระบบการพิมพ์ออฟเซต

เครื่องพิมพ์ของระบบพิมพ์ออฟเซตนั้นประกอบด้วยหลายๆหน่วยทำงานด้วยกันเพื่อที่จะผลิตสิ่งพิมพ์ได้

หลายๆหน่วยการทำงานของโครงสร้างระบบการพิมพ์ออฟเซตที่พูดถึงประกอบด้วย

1. หน่วยป้อน (Feeding Unit)

2. หน่วยพิมพ์ (Printing Unit)

3. หน่วยถ่ายโอนกระดาษพิมพ์ (Transfer Unit)

4. หน่วยทำแห้ง (Drying Unit)

5. หน่วยทำขั้นสำเร็จ (Finishing Unit)

6. หน่วยส่งกระดาษพิมพ์ (Delivery Unit)

7. หน่วยควบคุมการทำงานของฟังก์ชันต่างๆผ่านระบบคอมพิวเตอร์

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-03 23:03:36.0     Forum: webboard  >  จุดด้อยจุดอ่อนของระบบพิมพ์ออฟเซต

"จุดด้อยจุดอ่อนของระบบพิมพ์ออฟเซต"

ทุกๆอย่างล้วนแต่มีข้อดีและข้อด้อย ไม่มีสิ่งใดในโลกจะสมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกับการพิมพ์ระบบพิมพ์ออฟเซต

ในบทความที่แล้วเราได้พูดถึงข้อดีของระบบการพิมพ์นี้แล้ว ในบทความนี้เราลองมาดูข้อด้อยของระบบพิมพ์ออฟเซตกันบ้าง

1. ระบบการพิมพ์ออฟเซตจะมีความอิ่มตัวและสีสันของสีสู้กับระบบพิมพ์กราวัวร์ เล็ตเตอร์เพรส และ สกรีน ไม่ได้ ทั้งๆที่มีความละเอียดของภาพสูงกว่า

2. ผิวหน้าของแผ่นแม่พิมพ์จะเกิด ปฏิกิริยาที่เรียกว่า ออกซิเดชัน กับชั้นอากาศได้ง่าย หากไม่มีการป้องกันทากัม(Gum) ไว้ที่ผิว จะทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวสูญเสียคุณสมบัติการรับน้ำได้ ดังนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

3. การตั้งเครื่องเตรียมพร้อมพิมพ์และการเปลี่ยนงานพิมพ์ใหม่ของระบบพิมพ์ออฟเซตใช้เวลานาน ขึ้นอยู่กับความชำนาญของช่างพิมพ์ ทำให้มีผลต่อต้นทุนการผลิตและเป็นอุปสรรคของโรงพิมพ์ เช่น การเปลี่ยนแม่พิมพ์ชุดใหม่ ล้างหมึกบนเครื่องพิมพ์ เปลี่ยนกองกระดาษ ตรวจสอบแรงกดพิมพ์ และ การหาสมดุลน้ำกับหมึกพิมพ์

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-04-02 22:41:39.0     Forum: webboard  >  จุดเด่นจุดแข็งของระบบพิมพ์ออฟเซต

"จุดเด่นจุดแข็งของระบบพิมพ์ออฟเซต"

ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงพิมพ์ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ต่างยังคงเชื่อและไว้วางใจในระบบการพิมพ์ออฟเซต 

เนื่องจากระบบการพิมพ์นี้ มีจุดดีจุดเด่นอยู่พอสมควร นั่นคือ

1. ระบบการพิมพ์ออฟเซตมีความคงที่ของคุณภาพตลอดงานพิมพ์ รวมถึงการผลิตน้ำหนักสีของภาพ

2. โมผ้าของระบบการพิมพ์ออฟเซต จะช่วยรักษาสภาพแม่พิมพ์ ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น มีความทนทาน เพราะแม่พิมพ์ไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับผิววัสดุสิ่งพิมพ์

3. มีต้นทุนที่ต่ำในการพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร วารสาร ในกรณีที่มีจำนวนมากๆ

4. สามารถปรับปริมาณการจ่ายหมึกได้ตามความต้องการและรวดเร็ว

5. ระบบการพิมพ์ออฟเซต ได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากล ได้แก่ ISO 12647-2, ISO 12647-3, GRACOL, SWOP, SNAP และ Japan Color เป็นต้น

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-03-07 18:31:29.0     Forum: webboard  >  Alois Senefelder

 

" Alois Senefelder "

จากการคาดการณ์ การพิมพ์แม่พิมพ์พื้นราบถือว่าเป็นสองส่วนสามของการพิมพ์ทั้งหมดในปัจจุบันโดยการประมาณ ถึงแม้ว่า การพิมพ์แบบดิจิตอลจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การพิมพ์แบบระบบฐานน้ำและน้ำมัน ที่ยังคงใช้การสร้างภาพบนกระดาษจากผ้ายาง ยังคงเป็นที่โดดเด่นในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

Lithography ซึ่งมีความหมายที่แท้จริงว่า การพิมพ์หิน หรือ stone printing และมีมานานแล้วถึง 213 ปีและต่อมา การพิมพ์แม่พิมพ์พื้นราบจะมีความแตกต่างจากการพิมพ์ระบบอื่นๆที่ชัดเจนคือ การแยกส่วนที่เป็นภาพออกจากส่วนที่ไม่ใช่ภาพโดยกระบวนการทางเคมี 

 ถึงแม้ว่าระบบการพิมพ์แม่พิมพ์พื้นราบจะเป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายและนิยม ในแง่ของความละเอียดและปริมาณ การพิมพ์ประเภทนี้เพิ่งจะมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 หรือ ประมาณ 60 กว่าปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้นระบบการพิมพ์จะเป็นการพิมพ์แบบ letter press ซึ่งอยู่มานานถึง 500 กว่าปี Gutenberg สร้างการหล่อของโลหะหลอมและกลไกระบบการพิมพ์ในปี ค.ศ.1450

พวกเรานับว่าโชคดีที่ผู้คิดค้นระบบการพิมพ์แม่พิมพ์พื้นราบ Alois Senefelder ได้เขียนหนังสือที่เต็มไปด้วย ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับชีวิตของเขาและคำอธิบายว่าสิ่งที่เขาคิดค้นมาจากไหน รวมถึงวิธีที่ทำให้ระบบการพิมพ์มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ " Alois Senefelder "

Alois Senefelder เกิดวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ.1771 ที่เมืองปราก เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเช็กเกีย  ต่อมาครอบครัวของเขาอาศัยอยู่ในมิวนิกซึ่งเป็นที่ที่เขาได้เริ่มเข้าโรงเรียน และได้รับทุนในการศึกษากฎหมาย ใน Bavarian city of Ingolstadt

เมื่อตอนอายุได้ยี่สิบปี พ่อของเราได้เสียชีวิตลง จนทำให้เขาต้องออกจากการศึกษาในขนะนั้นเพื่อที่จะมาช่วยแม่ของเขาและญาติอีก 8 คน ความสนใจด้านโรงละครและการแสดงนำให้เขา ได้เริ่มต้นการเขียนบทการแสดงในการหาเงินเลี้ยงชีพ โดยบางบทการแสดงที่เขาเขียนขึ้นในสมัยวัยหนุ่มได้รับกระแสตอบรับที่ดี ในตอนแรกAlois ได้ไปหาโรงพิมพ์ในชุมชนเพื่อที่จะตีพิมพ์ต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือของเขา และได้เรียนรู้ว่าผู้จัดพิมพ์ของเขาพิมพ์งานให้ไม่ทัน จึงส่งไปพิมพ์อีกที่นึง หลังจากที่งานถูกตีพิมพ์สำหรับวางขายเรียบร้อยแล้ว เขาได้พบว่าค่าใช้จ่าย

Alois จึงตัดสินใจว่า มันคงไม่ยากสำหรับเขาที่จะเรียนรู้และเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ขนาดเล็กด้วยตัวของเขาเอง แต่ด้วยเขาขาดทุนทรัพย์ที่จะซื้ออุปกรณ์การพิมพ์และกระดาษ เขาจึงได้ร่วมในการทดลองต่างๆที่มีการแกะสลักที่ต่างกันและเทคนิคการหล่อหลอม เมื่อตอนเขาเป็นนักเรียน เขามีโอกาสได้ศึกษาด้านเคมี เขาจึงพยายามทดลองและทดลองใช้วิธีการแกะสลักหลายรูปแบบโดยใช้สเปรย์ขี้ผึ้งขี้ผึ้ง สบู่ ผิวทองแดงและสังกะสี เขายังลองทำสูตรหมึกต่าง ๆเพื่อให้การถ่ายโอนภาพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบนกระดาษ แม้ว่าจะเป็นที่นิยมพูดกันว่า Alois  Senefelder ได้คิดค้นการพิมพ์หินโดยบังเอิญ เขาอธิบายว่า "ฉันได้บอกสิ่งเหล่านี้อย่างเต็มที่เพื่อที่จะพิสูจน์ให้ผู้อ่านทราบว่าฉันไม่ได้พิมพ์หินพิมพ์โดยอุบัติเหตุจากความสุขในการทำ แต่ที่ฉันมาให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยความคิดขยัน "

เขาเริ่มทำงานด้วยหินครั้งแรกเพื่อจุดประสงค์ในการ "ถูสีของฉันลงบนแผ่นหิน" และหลังจากนั้นก็เริ่มฝึกวิธีส่วนใหญ่ที่เขาได้ทดลองอยู่ล้วนจะต้องเขียนตัวหนังสือกลับด้าน ในเวลานี้ในปี ค.ศ. 1796 การค้นพบของเขาเกิดขึ้นเมื่อเขาเขียนรายการซักผ้าบนหินที่เขาเตรียมไว้และพบว่าภาพนั้นสามารถพิมพ์ด้วยหมึกและถ่ายโอนไปยังกระดาษได้

เมื่อถึงปีพ. ศ. 2341 กระบวนการการพิมพ์ที่สมบูรณ์ได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์และเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2342 และ Alois ได้รับใบอนุญาตพิเศษ เขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้เผยแพร่เพลงของ André และได้รับการปรับปรุงกระบวนการทางเคมีและรูปแบบพิเศษของการพิมพ์ที่จำเป็นสำหรับการใช้หินพิมพ์หิน เขาเรียกมันว่า "การพิมพ์ด้วยหิน" หรือ "การพิมพ์เคมี"

Alois  ได้รับการยอมรับจากกษัตริย์ Maximilian Joseph จากบาวาเรียและได้รับเงินบำนาญ และ รูปปั้นของ Senefelder ตั้งอยู่ในเมือง Solnhofen ซึ่งยังมีหินแกะสลักอยู่

ผลงานของ Alois Senefelder ในการพิมพ์นับว่าเป็นกระบวนการที่เหมาะสมและสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น แม้ว่า letterpress ยังคงเป็นรูปแบบการพิมพ์ที่โดดเด่น แต่การพิมพ์หินเป็นเทคนิคที่ต้องการสำหรับการทำสำเนาภาพและศิลปะ หลังจากพิมพ์เทคนิคการพิมพ์ออฟเซ็ตแล้วจะมีมากขึ้นในภายหลังการพิมพ์หินนั้นจะเข้ามามีอิทธิพลในด้านการพิมพ์หนังสือพิมพ์หนังสือและนิตยสารและการพิมพ์เชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมาก

 

Credit : https://www.google.co.th/search?q=%22+Alois+Senefelder+%22&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwi8_

MHiqPnSAhWJpI8KHXX2DfMQ_AUICCgB&biw=1536&bih=759#imgrc=LPgiB2zkPWZefM:

 

guest

Post : 2017-02-07 15:52:50.0     Forum: webboard  >  การพิมพ์แม่พิมพ์พื้นราบ(Planographic printing)

"การพิมพ์แม่พิมพ์พื้นราบ"

    การพิมพ์ออฟเซต (Offset Lithography) หรือการพิมพ์พื้นราบ (Planographic printing) เป็นหนึ่งในกลุ่มการพิมพ์ดั้งเดิมหรือ conventional printing ซึ่งถูกพัฒนาและใช้มานานแล้วถึง 200 ปี การพิมพ์พื้นราบหรือการพิมพ์ออฟเซตเป็นระบบการพิมพ์ที่ถูกพัฒนามาจากระบบการพิมพ์หิน โดย Alois Senefelder ในปี ค.ศ.1796

     ทุกๆระบบการพิมพ์มีหลักการที่แตกต่างกันไป โดยหลักการของการพิมพ์ออฟเซต คือ การแยกส่วนที่เป็นภาพ และ ส่วนที่ไม่ใช่ภาพ บนแม่พิมพ์พื้นราบ โดยส่วนที่เป็นภาพจะรับหมึก ในขณะที่ส่วนที่ไม่ใช่ภาพจะรับน้ำ แล้วผ่านส่งตัวกลางหรือไม่ก็ได้ เพื่อไปยังกระดาษที่จะใช้ในการพิมพ์หรือวัสดุการพิมพ์อื่นๆ 

      สิ่งที่สำคัญสำหรับการพิมพ์ออฟเซตคือ การให้ ชั้นฟิล์มของน้ำไม่เข้าไปในบริเวณส่วนที่เป็นภาพที่มีหมึกอยู่ทั้งขอบและภายใน น้ำจะต้องระเหยทันบนตัวกลางก่อนที่จะไปถึงวัสดุสิ่งพิมพ์ หรือ กระดาษ ไม่เช่นนั้น น้ำจะสามารถทำให้กระดาษขยายตัวได้

    ระบบการพิมพ์ออฟเซตสามารถผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด เช่น การพิมพ์งานหนังสือ วารสาร นิตยสาร โบรชัวร์ โปสเตอร์ แผ่นพับบบฟอร์มธุรกิจ บรรจุภัณฑ์และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น  โดยเหตุผลหลักๆที่ระบบการพิมพ์ออฟเซตเหมาะสำหรับ คือ "ต้องการพิมพ์จำนวนมาก ต้นทุนประหยัด ให้คุณภาพที่สูงและคงที่" เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ

 ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ซึ่ง มีการนำเทคโนโลยี  Computer-to-Plate มาใช้ แทนการสร้างภาพบนฟิล์ม และทำให้ระบบการพิมพ์ควบคุมคุณภาพได้ง่ายขั้นและใช้ระยะเวลาในการผลิตเร็วขึ้น

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-02-01 17:23:54.0     Forum: webboard  >  การพิมพ์แบบดั้งเดิม(Conventional Printing)

"การพิมพ์แบบดั้งเดิม (Conventional Printing)"

     การพิมพ์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและมีหลายกแบบหลายประเภท ขึ้นอยู่กับระบบการพิมพ์ และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆจนถึงยุคปัจจุบันซึ่งมีเทคโนโลยีที่ก้าวไกลไปมากเทียบกับสมัยก่อน

ระบบการพิมพ์ที่จัดว่าอยู่กลุ่มของการพิมพ์ดั้งเดิมนั้น คือ

1. ออฟเซต

2. กราวัวร์

3. เฟล็กโซกราฟี

4. เล็ตเตอร์เพรส

5. ดรายออฟเซ็ต

6. สกรีน

    ซึ่งแต่ละระบบการพิมพ์ก็ผลิตสิ่งพิมพ์ งามพิมพ์ในลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน หากเราสังเกตด้วยการมองด้วยตาเปล่า หรือ ใช้กล้องขยายดูลักษณะของงานพิมพ์ สิ่งพิมพ์ เราจะสามารถแยกได้ว่าสิ่งพิมพ์นั้นผลิตมาจากระบบใด

คุณลักษณะที่สามารถสังเกตได้ เช่น

- ขอบของเส้นหรือตัวอักษร

- ลักษณะรูปร่างของเม็ดสกรีน

- งานพิมพ์พื้นทึบ

- ความหนาของชั้นฟิล์ม

- ชนิดของหมึกพิมพ์และวัสดุในการใช้พิมพ์

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

guest

Post : 2017-01-27 20:51:46.0     Forum: webboard  >  เทคโนโลยีการพิมพ์

*เทคโนโลยีการพิมพ์*

ธุรกิจสิ่งพิมพ์นั้นถือว่าเป็นธุรกิจบริการ โดยอาศัยความพึงพอใจของลูกค้า เช่น ราคา คุณภาพ ความรวดเร็ว เป็นต้น 

เมื่อพูดถึงการพิมพ์แล้ว นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่อุตสาหกรรมหนึ่ง เพราะว่าทุกสิ่งรอบตัวเราล้วนมาจากการพิมพ์ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการพิมพ์ประเภทไหน สิ่งที่แน่ชัดและทุกคนรู้คือการพิมพ์บนกระดาษ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ หนังสือการ์ตูน โบรชัวร์ และอื่นๆอีกมากมายรูปภาพบนเสื้อเรานั้น บางส่วนมาจากการพิมพ์ ซึ่งนับว่าเป็นการพิมพ์ประภทหนึ่ง 

หากเราแบ่งประเภทการพิมพ์ เราสามารถแบ่งประเภทการพิมพ์ได้ 6 ประเภท ตามลักษณะแม่พิมพ์ ได้แก่

1. การพิมพ์แม่พิมพ์พื้นราบ

2. การพิมพ์แม่พิมพ์ร่องลึก

3. การพิมพ์แม่พิมพ์พื้นนูน

4. การพิมพ์แม่พิมพ์ลายฉลุ

5. การพิมพ์ถ่ายโอน

6. การพิมพ์ดิจิตอล



โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

처음 이전 1 | 2 | 3 | 4 다음 끝

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ รับผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ทุกประเภทในราคาย่อมเยาว์ บริการถูกใจและรวดเร็ว สิ่งพิมพ์คุณภาพดี ส่งสินค้าตรงเวลา