**เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ**หน่วยจ่ายหมึกระยะทางสั้น (Short Ink Train)
โดยทั่วไปแล้วเครื่องพิมพ์ออฟเซตจะมีจำนวนลูกกลิ้งในหน่วยจ่ายหมึกมากกว่าระบบอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่ เกลี่ย กระจาย และ แยกชั้นหมึก ให้ได้ความหนาตามความต้องการ ลักษณะนี้จะเรียกว่า หน่วยจ่ายหมึกระยะทางยาว
ความคิดในการพัฒนาหน่วยจ่ายหมึกทำให้กำเนิด หน่วยจ่ายหมึกระยะสั้น ซึ่งถูกนำมาใช้ในเครื่องพิมพ์ของระบบออฟเซตไร้น้ำ ลักษณะเด่นๆของระบบนี้จะประกอบด้วย รางหมึก ลูกกลิ้งแอนนิลอกในรางหมึก ใบปาดหมึก และ ลูกกลิ้งคลึงเพลต เท่านั้น โดยลูกกลิ้งแอนนิลอกทำหน้าที่ถ่ายโอนหมึกและควบคุมปริมาณหมึกด้วยการมีบ่อหมึกขนาดเล็กเรียงตัวกันที่ผิว
สำหรับรางหมึกปัจจุบัน จะเป็นระบบปิด โดยหมึกจะบรรจุอยู่ในกระบอกทรงกลม มีท่อปั๊มดูดและส่งหมึกไปยังลูกกลิ้งแอนนิลอกผ่านใบปาดหมึกแบบ chambered doctor blade ด้านบนล่างของความยาวเป็นใบปาด ประกบติดกับผิวลูกกลิ้ง ใบปาดหมึกด้านบนจะทำหน้าที่ปาดหมึกส่วนด้านล่างจะรองรับไม่ให้หมึกไหลซึมผ่านได้
ข้อดีของระบบจ่ายหมึกแบบนี้ คือ ความหนาของชั้นหมึกจะคงที่ และกำจัดปัญหาการพิมพ์ที่เรียกว่า ภาพหลอก อีกทั้งยังทำให้การพิมพ์ที่ความเร็วสูงสามารถทำได้ โดยไม่มีปัญหาพิมพ์พร่า
ระบบควบคุมอุณหภูมิ
อุณหภูมิมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพิมพ์ทุกระบบ โดยเฉพาะระบบไร้น้ำ เพราะจะมีผลต่อสมบัติสภาพการไหลและแยกชั้นของหมึกพิมพ์ และความคงที่ของคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ ซึ่งจะพบว่าความร้อนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น มาจากชิ้นส่วนกลไกทางแมคานิกของเครื่องพิมพ์ได้แก่
การหมุนและสัมผัสกันระหว่างผิวลูกกลิ้ง
การขัดกันของเฟืองเกียร์ และลูกปืน ของโมและลูกกลิ้งต่างๆ
การยืดขยายตัวของผ้ายางและยางที่หุ้มลูกกลิ้ง
สำหรับเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซตไรน้ำ นอกจากระบบจ่ายหมึกจะเป็นแบระยะทางสั้นแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบในการเกิดปริมาณความร้อนไม่สูงเท่าเครื่องพิมพ์แบบระยะทางยาว ดังนั้นลูกกลิ้งแอนนิลอกเพียงลูกเดียวกับโมแม่พิมพ์ก็เพียงพอแล้วในการมีระบบทำความเย็นที่เชื่อมต่อกับระบบความคุมอุณหภูมิของเครื่องพิมพ์ |
วันที่: Fri Dec 20 17:09:16 ICT 2024
|
|
|