Support
Topmulti
02-467-5353,063-373-4722 , 063-373-4723
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2017-10-11 11:15:03.0     Forum: webboard  >  ความเป็นมาของเทคโนโลยีการพิมพ์สกรีน

 ความเป็นมาของเทคโนโลยีการพิมพ์สกรีน

การพิมพ์สกรีนถือว่าเป็นระบบการพิมพืที่เก่าแก่ของโลก อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบพิมพ์เเรกของโลก มีมากว่าพันปีเริ่มจากประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960-1279) เเต่เดิมนั้นเข้าใจว่าเป็นการทำลวดลายฉลุบนแผ่นแม่พิมพ์ที่ทำมาจากกระดาษไม้ หรือหนังสัตว์ เพื่อให้หมึกไหลผ่านร่องลวดลายเหล่านั้นไปยังวัสดุใช้พิมพ์ที่เเม่พิมพ์ทับอยู่ หลักการนี้เรียกว่า การพิมพ์ลายฉลุ( stencil printing) ต่อมาเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำเเม่พิมพ์ไปเป็นเส้นผมคน หรือเส้นใยไหม ที่ทอขนานสลับการเป็นตาข่าย วาดลวยลายตามต้องการด้วยกาว ปิดทับส่วนที่ไม่ต้องการให้หมึกไหลผ่าน( บริเวณที่ไม่ใช่ภาพ) เหลือส่วนที่เป็นช่องรูเปิดของเส้นใยให้หมึกไหลผ่านไปยังวัสดุใช้พิมพ์ ได้เป็นภาพพิม์ปรากฏขึ้น และนี่คือที่มาของการพิมพ์ที่เรียกว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีน ( silk screen printing )  นั่นเองค่ะ

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก : หนังสือเทคโนโลยีการพิมพ์ 

guest

Post : 2017-09-29 14:11:30.0     Forum: webboard  >  ระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี ( Flexographic Printing)

 ระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี ( Flexographic Printing)

ระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟีนั้น โรงพิมพ์ใช้ในการพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูก ถุงกระสอบ

ถุงกระดาษคราฟท์ เป็นตัน

หลักการพิมพ์

   คือเป็นระบบพิมพ์ที่ใช้เเม่พิมพ์พื้นนูน ( rerief plate) ถ่ายโอนหมึกโดยตรงไปยังวัสดุใช้พิมพ์ (direct printing) เเม่พิมพ์ทำด้วยยางหรือพอลิเมอร์ไวเเสงหยุ่นตัว ใช้หมึกพิมพ์เหลว การจ่ายหมึกควบคุมด้วยปริมาตรของร่องลึกของลูกกลิ้งแอนนิลอกซ์( anilox roll ) เเรงกดพิมพ์น้อย  พิมพ์บนวัสดุใช้พิมพ์ได้หลายชนิด และที่น่าสนใจ คือ หมึกพิมพ์มีทั้งเลือกทั้งฐานตัวทำละลายฐานน้ำและหมุกยูวี( ultraviolet ink)

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์

guest

Post : 2017-08-26 21:00:36.0     Forum: webboard  >  การพิมพ์ดรายออฟเซต ( dry offset printing)

 การพิมพ์ดรายออฟเซต (dryoffset prinying) 

การพิมพ์ดรายออฟเซต หรือ การพิมพ์เล็ตเตอร์เซต (Letterset printing) เป็นระบบพิมพ์ที่ใช้หลักการของออฟเซตกับเล็ตเตอร์เพรสเข้าด้วยกัน คือ ใช้เเม่พิมพ์พื้นนูน ถ่ายโอนหมึกพิมพ์ผ่านผ้ายางไปยังวัสดุใช้พิมพ์ที่อาจขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้วหรือเป็นแผ่นพิมพ์ก็ได้ มีลักษณะเฉพาะคือ โครงสร้างหน่วยพิมพ์ไม่มีหน่วยทำชื้นการซ้อนกันของหมึกพิมพ์เป็นแบบเปียก wet-on-wet โดยปรกติพิมพ์จะใช้พิมพ์งานประเภทแบบฟอร์มธุรกิจ ใช้หมึกเรืองเเสงหรือหมึกสมบัติแม่เหล็ก ซึ่งไม่ต้องการน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ประเภทถ้วย หลอด กระป๋ิองเครื่องดื่ม เป็นต้น

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : หนังสือเทคโนโลยีการพิมพ์.... ความก้าวหน้าเเละการนำไปใช้....

guest

Post : 2017-08-18 23:37:47.0     Forum: webboard  >  รู้หรือไม่! ใครได้รับฉายาให้เป็นบิดาการพิมพ์สมัยใหม่ของโลก

 รู้หรือไม่! ใครได้รับฉายาให้เป็นบิดาการพิมพ์สมัยใหม่ของโลก

บุคคลที่ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาการพิมพ์ของโลก คือ นายโยฮันเนส กูเทนเบิร์ก ( Johannes Gutenberg) ชาวเยอรมัน  เขาได้คิดค้นวิธีการหล่อตัวเรียงพิมพ์เป็นตัวๆ และสร้างเครื่องพิมพ์ที่ดัดแปลงมาจากเครื่องทำไวน์ (wine press) ต่อมาเรียกว่า เครื่องพิมพ์กูเทนเบิร์ก ซึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การพิมพ์ถือว่าการพิมพ์ระบบนี้เป็นจุดกำเนิดธุรกิจการพิมพ์ของโลก และโรงพิมพ์ทั่วโลก ที่กระจายไปสู่สาธารณชนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดต้นเบบของกระบวนการผลิตงานพิมพ์ เช่น การพิมพ์หนังสือคัมภีร์ไบเบิล 42 บรรทัด เป็นครั้งเเรก

 

Image result for johannes gutenberg    Image result for johannes gutenberg printing press


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :หนังสือเทคโนโลยีการพิมพ์-ความก้าวหน้าและการนำไปใช้

ขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.mrdowling.com/704-gutenberg.html,

                                  https://en.wikipedia.org/wiki/Johannes_Gutenberg

 

guest

Post : 2017-08-13 12:34:34.0     Forum: webboard  >  การพิมพ์แพด (Pad printing)

 การพิมพ์แพด (Pad printing)

  การพิมพ์แพด เป็นรูปแบบหนึ่งของเทคนิคการพิมพ์ ที่เเพร่หลายในโรงพิมพ์ของบ้านเรา เเต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จัก อาจจะด้วยเพราะระบบพิมพ์นี้มักจะถูกนำไปใช้กับงานพิมพ์เฉพาะผลิตภัณฑ์มากกว่าที่จะเป็นหนังสือ บรรจุภัณฑ์หรือคอมเมอร์เชียล ที่น่าสนใจคือระบบการพิมพ์นี้มักจะอยู่คู่กับระบบพิมพ์สกรีนในโรงพิมพ์ โดยบางครั้งจะถูกนำไปใช้ในกรณีที่ระบบพิมพ์สกรีนไม่สามารถพิมพ์บนวัสดุนั้นได้

หลักการของการพิมพ์เพด

มีหลักการง่ายๆ คือ การทำให้ภาพ 2 มิติ ไปปรากฏบนวัตถุรูปร่าง 3 มิติ เป็นระบบพิมพ์ทางอ้อม (indirect printing) ที่ให้หมึกในแม่พิมพ์ร่องลึก ( เรียกว่า cliche) ผ่านลูกยางคล้ายลูกประคบ ที่รู้จักกันในชื่อ ลุกแพด ทำด้วยยางซิลิโคน นำไปถ่ายโอนลงบนวัตถุรุปทรงต่่างๆด้วยวิธีการกดทับ ได้ภาพตำเเหน่งที่ต้องการ สามารถพิมพ์บนผลิตภัณฑ์ ได้หลากหลายในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เช่น ทางการแพทย์ รถยนต์  โฆษณา เครื่องประดับ 

 

ขอบคุณข้อมูลดึๆจาก หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์

guest

Post : 2017-08-05 17:08:25.0     Forum: webboard  >  ระบบการพิมพ์กราวัวร์ ( Gravure printing )

 ระบบการพิมพ์กราวัวร์ ( Gravure printing )

จากครั้งที่เเล้วที่เราศึกษาเกี่ยวกับความหมายของการพิมพ์ระบบกราวัวร์กันไปแล้ว วันนี้เราจะได้มารู้กันว่า ระบบการพิมพ์กราวัวร์ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ไปรับชมกันเลยค่ะ

1.โครงสร้างเครื่องพิมพ์ 

ประกอบไปด้วย หน่วยปล่อยม้วน (Unwinder),หน่วยควบคุมเเรงตึง (Infeeder),หน่วยพิมพ์ (Printing Unit) 1-8 สี,หน่วยควบคุมเเรงตึงก่อนเก็บม้วน (Out-feeder) และหน่วยเก็บม้วน (Rewinder) ตามลำดับ

2.หมึกพิมพ์

หมึกพิมพ์กราวัวร์มีความหนือต่ำ และเเห้งตัวด้วยวิธีการระเหย โรงพิมพ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนำไปใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว เช่น พลาสติก ฟิล์ม กระดาษบาง ฟอยล์อลูมิเนียม ฉลาก รวมทั้งกระดาษห่อของขวัญ

3.การทำแม่พิมพ์

เเม่พิมพ์มีลักษณะรูปร่างเป็นทรงกระบอกกลวง เเข็งเเรง ทนทานสูง สามารถนำกลับไปใช้ซ้ำ จนกว่าจะสึกหรอได้  แม่พิมพ์ประกอบด้วยชั้นโลหะ 4 ชั้น คือ ชั้นเหล็ก ชั้นนิกเกิล ชั้นทองแดง ชั้นโครเมี่ยม

4.การเตรียมพร้อมพิมพ์ (make ready)

-ใส่ม้วนวัสดุใช้พิมพ์ ตั้งเเต่หน่วยคลายม้วน ไปจนกระทั่งหน่วยเก็บม้วน

-ใส่โมแม่พิมพ์

-ล้างโมแม่พิมพ์ ใช้น้ำยาทำความสะอาดโดยเฉพาะ หรือผงขัด (ที่ใช้กันทั่วไป)

-ขัดแม่พิมพ์ด้วยกระดาษทราย เพื่อลดรอยขีดข่วน

-ตั้งระยะมาร์ก ( web mark) และปรับ compensating roll

-ใส่หมึกลงในรางหมึก ปรับสีและความหนืดตามที่กำหนด

-ตั้งใบมีดปาดหมึกให้ถูกต้อง

-เปิดเครื่องพิมพ์ ทดลองพิมพ์ โดยการนำส่วนฟิล์มที่เสียมาพิมพ์เพื่อ ปรับเเรงตึงม้วนฟิล์ม ควบคุมปริมาณจ่ายหมึก ดูรีจีสเตอร์ สีภาพ

-เริ่มทำการพิมพ์


ขอขอบคุณขอมูลดีๆจาก : หนังสือเทคโนโลยีการพิมพ์                                                                 

guest

Post : 2017-07-29 21:54:38.0     Forum: webboard  >  การพิมพ์แม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglio printing )

 การพิมพ์แม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglio printing )

จากการที่ทุกท่านได้เห็นหัวข้อนี้ คงเริ่มสงสัยกันแล้วสิคะว่า การพิมพ์แม่พิมพ์ร่องลึกนี้เป็นยังไง โรงพิมพ์ต่างๆใช้ระบบการพิมพ์นี้อย่างไร และระบบการพิมพ์นี้สามารถแบ่งออกได้กี่ประเภท ถ้าอยากรู้แล้วมาเริ่มหาคำตอบกันได้เลยค่ะ

1. การพิมพ์กราวัวร์ ( Gravure printing )

      การพิมพ์กราวัวร์เป็นระบบพิมพ์ร่องลึก ( บ่อหมึก ) ที่ถ่ายโอนหมึกพิมพ์ลงบนวัสดุใช้พิมพ์โดยตรง หมึกพิมพ์นี้มีลักษณะเหลว ความหนืดต่ำ โครงสร้างหน่วยพิมพ์นี้ไม่ซับซ้อน เเม่พิมพ์กลมเป็นทรงกระบอก ทำด้วยแกนเหล็กเคลือบด้วยนิกเกิล (nickel) ทองเเดง (copper) และโครเมียม ( chromium ) ชั้นนอกสุด

    ข้อดีของการพิมพ์ระบบนี้ คือ พิมพ์ได้บนวัสดุหลายชนิด หมึกพิมพ์ให้สีสันสด  การเลือกใช้ตัวทำละลายในหมึกพิมพ์ทำได้ไม่จำกัดเนื่องจากแม่พิมพ์เป็นโลหะที่ทนทานต่อการสึกกร่อนได้ดี

2.การพิมพ์แพด ( Pad printing )

      การพิมพ์เเพด เป็นระบบการพิมพ์ที่เเพร่หลายในบ้านเรา เเต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จัก เนื่องจากโรงพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้การพิมพ์ระบบนี้ในการพิมพ์เฉพาะผลิตภัณฑ์มากกว่าที่จะเป็นหนังสือ บรรจุภัณฑ์หรือคอมเมอร์เชียล ที่น่าสนใจคือระบบการพิมพ์นี้มักจะอยุ่คู่กับระบบการพิมพ์สกรีนในโรงพิมพ์ โดยบางครั้งจะถูกนำไปใช้ในกรณีที่ระบบพิมพ์สกรีนไม่สามารถพิมพ์บนวัสดุนั้นได้

ในบทความตอนต่อไป เราจะเข้าไปเจาะลึกถึงระบบการพิมพ์กราวัวร์ ว่ามีวิธีการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง อย่าพลาดชมกับข้อมูลที่น่าสนใจในครั้งต่อไปนะคะ

 

 

 

guest

Post : 2017-07-24 01:31:59.0     Forum: webboard  >  คุณภาพงานพิมพ์สิ่งพิมพ์ของระบบพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

**คุณภาพงานพิมพ์สิ่งพิมพ์ของระบบพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ**

เทคโนโลยีระบบพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ กล่าวได้ว่าเป็นจุดพลิกผันของการพิมพ์รูปแบบใหม่ ซึ่งไปอีกก้าวหนึ่งในการไปสู่งานพิมพ์ระดับคุณภาพสูง ด้วยการออกแบบหน่วยหน่วยลงหมึกแบบ Short ink train ไม่มีอุปกรณ์อิงค์คีย์ และระบบการควบคุมอุณหภูมิในตัวเครื่องพิมพ์ ทำให้งานพิมพ์ที่ได้มีลักษณะเฉพาะตัว สรุปได้ดังนี้

  • เม็ดสกรีนบวมต่ำ ทำให้สามารถผลิตงานที่มีความละเอียดของเม็ดสกรีนสูงๆได้

  • สามารถพิมพ์บนผิววัสดุใช้พิมพ์ได้หลากหลาย รวมทั้งกระดาษหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะงานพิมพ์สกรีน FM

  • การผลิตน้ำหนักสีพิมพ์ดิจิทัล ถ้าความละเอียดของสกรีนไม่เกิน 200 lpi จะให้ช่วงน้ำหนักสีระหว่าง 1-99 เปอร์เซนต์

  • ภาพคมมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับงานพิมพ์ สิ่งพิมพ์ออฟเซตดั้งเดิม

  • ให้ขอบเขตของสีกว้าง และความอิ่มตัวของสีสูง 

  • งานพิมพ์ที่ได้มีความสม่ำเสมอ

  • ไม่มีปัญหาการพิมพ์ภาพหลอก

guest

Post : 2017-07-19 20:08:17.0     Forum: webboard  >  เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

**เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ**

หน่วยจ่ายหมึกระยะทางสั้น (Short Ink Train)

โดยทั่วไปแล้วเครื่องพิมพ์ออฟเซตจะมีจำนวนลูกกลิ้งในหน่วยจ่ายหมึกมากกว่าระบบอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่ เกลี่ย กระจาย และ แยกชั้นหมึก ให้ได้ความหนาตามความต้องการ ลักษณะนี้จะเรียกว่า หน่วยจ่ายหมึกระยะทางยาว

ความคิดในการพัฒนาหน่วยจ่ายหมึกทำให้กำเนิด หน่วยจ่ายหมึกระยะสั้น ซึ่งถูกนำมาใช้ในเครื่องพิมพ์ของระบบออฟเซตไร้น้ำ ลักษณะเด่นๆของระบบนี้จะประกอบด้วย รางหมึก ลูกกลิ้งแอนนิลอกในรางหมึก ใบปาดหมึก และ ลูกกลิ้งคลึงเพลต เท่านั้น โดยลูกกลิ้งแอนนิลอกทำหน้าที่ถ่ายโอนหมึกและควบคุมปริมาณหมึกด้วยการมีบ่อหมึกขนาดเล็กเรียงตัวกันที่ผิว

สำหรับรางหมึกปัจจุบัน จะเป็นระบบปิด โดยหมึกจะบรรจุอยู่ในกระบอกทรงกลม มีท่อปั๊มดูดและส่งหมึกไปยังลูกกลิ้งแอนนิลอกผ่านใบปาดหมึกแบบ chambered doctor blade ด้านบนล่างของความยาวเป็นใบปาด ประกบติดกับผิวลูกกลิ้ง ใบปาดหมึกด้านบนจะทำหน้าที่ปาดหมึกส่วนด้านล่างจะรองรับไม่ให้หมึกไหลซึมผ่านได้

ข้อดีของระบบจ่ายหมึกแบบนี้ คือ ความหนาของชั้นหมึกจะคงที่ และกำจัดปัญหาการพิมพ์ที่เรียกว่า ภาพหลอก อีกทั้งยังทำให้การพิมพ์ที่ความเร็วสูงสามารถทำได้ โดยไม่มีปัญหาพิมพ์พร่า

ระบบควบคุมอุณหภูมิ

อุณหภูมิมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพิมพ์ทุกระบบ โดยเฉพาะระบบไร้น้ำ เพราะจะมีผลต่อสมบัติสภาพการไหลและแยกชั้นของหมึกพิมพ์ และความคงที่ของคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ ซึ่งจะพบว่าความร้อนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น มาจากชิ้นส่วนกลไกทางแมคานิกของเครื่องพิมพ์ได้แก่

การหมุนและสัมผัสกันระหว่างผิวลูกกลิ้ง

การขัดกันของเฟืองเกียร์ และลูกปืน ของโมและลูกกลิ้งต่างๆ

การยืดขยายตัวของผ้ายางและยางที่หุ้มลูกกลิ้ง

สำหรับเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซตไรน้ำ นอกจากระบบจ่ายหมึกจะเป็นแบระยะทางสั้นแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบในการเกิดปริมาณความร้อนไม่สูงเท่าเครื่องพิมพ์แบบระยะทางยาว ดังนั้นลูกกลิ้งแอนนิลอกเพียงลูกเดียวกับโมแม่พิมพ์ก็เพียงพอแล้วในการมีระบบทำความเย็นที่เชื่อมต่อกับระบบความคุมอุณหภูมิของเครื่องพิมพ์

guest

Post : 2017-07-16 07:09:17.0     Forum: webboard  >   แม่พิมพ์ในระบบพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

*แม่พิมพ์ในระบบพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ*

 

แม่พิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ สังเกตได้ง่ายๆที่ผิวจะมีสารประกอบซิลิโคนเคลือบอยู่ ซึ่งหลักการคือ เมื่อตัวทำละลายน้ำมันระเหยออกจากหมึกพิมพ์ระหว่างการแยกชั้นในหน่วยจ่ายหมึก บางส่วนจะถูกดูดซึมไปบนผิวแม่พิมพ์ซิลิโคน และเมื่อแม่พิมพ์นั้นได้รับแรงกดจากลูกกลิ้งคลึงเพลต ก็จะช่วยให้การซืมผ่านของตัวทำละลายไปที่ชั้นซิลิโคนได้มากและเร็วขึ้น จนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัวกลายเป็นชั้นสารละลายบางๆ ช่วยกั้นไม่ให้หมึกไปเกาะติดได้ ชั้นบางๆมีค่าพลังงานผิวค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับค่าพลังงานผิวของหมึกพิมพ์ ทำให้เกิดแรงผลักต้านระหว่างชั้นผิวซิลิโคนกับหมึกพิมพ์มากกว่าการยึดเกาะ

ลักษณะของแม่พิมพ์ ประกอบด้วย 3 ชั้นหลักๆ คือ

  1. ฐานอะลูมิเนียมหรือ พอลิเอสเทอร์

  2. ชั้นพอลิเมอร์ไวแสง

  3. ชั้นซิลิโคน

การสร้างภาพบนแม่พิมพ์ สามารถทำได้ 3 วิธี คือ

  1. การสร้างภาพด้วยวิธีการใช้น้ำยาเคมี

  2. การสร้างภาพด้วยน้ำ

  3. การสร้างภาพด้วยวิธีการเผาไหม้

guest

Post : 2017-07-10 21:49:32.0     Forum: webboard  >  หมึกพิมพ์ในระบบการพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

 *หมึกพิมพ์ในระบบพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ*

โดยทั่วไป หมึกพิมพ์ของระบบออฟเซตปกติ จะเป็นหมึกข้นที่มีความเหนียวและความหนืดสูง การที่จะทำให้เกิดการไหลและแยกชั้นได้นั้น เครื่องพิมพ์ต้องทำงานและมีความร้อนเกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่าความร้อนจะเป็นตัวช่วยทำให้หมึกข้นที่เหนียวและหนืด แยกชั้นได้ รวมทั้งยังมีการรวมตัวกับน้ำยาเฟาว์เทนได้ ทำให้การแยกชั้นหมึกนั้นยิ่งง่ายขึ้น

ในขณะที่หมึกพิมพ์ของออฟเซตไร้น้ำ ตามทฤษฎีแล้ว จะต้องมีความหนืดและเหนียวเริ่มต้นให้ต่ำ เพื่อชดเชยกับสมบัติที่ไม่มีการรวมตัวกับน้ำ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาการถอนผิวหน้ากระดาษได้

แต่ในโรงพิมพ์ ทางปฏิบัติจริงแล้ว ค่าความหนืดและความเหนียวของหมึกก็ยังคงสูงอยู่ดี เพื่อต้องการให้งานพิมพ์มีความคม(ขึ้นอยู่กับความหนืด) และ ไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นพื้นบนแม่พิมพ์ซิลิโคน(ค่าความเหนียวต่ำเกินไป) ซึ่งจะพบบ่อยในระบบพิมพ์นี้ อีกปัจจัยนึงที่สำคัญต่อคุณภาพของสิ่งพิมพ์คือ การควบคุมอุณหภูมิของเครื่องพิมพ์

guest

Post : 2017-07-05 10:57:45.0     Forum: webboard  >  เทคโนโลยีวัสดุพิมพ์ในระบบการพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

*เทคโนโลยีวัสดุพิมพ์ในระบบการพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ*

การพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ จะมีความแตกต่างจากการพิมพ์ออฟเซตทั่วไป ตรงที่ ระบบพิมพ์

ออฟเซตไร้น้ำ ไม่มีหน่วยทำความชื้นและหมึกไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติรวมตัวกับน้ำ

อีกทั้งยัง สภาวะการพิมพ์ก็แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นโรงพิมพ์ควรจะมีความเข้าใจและความรู้

โดยเฉพาะสมบัติต่างๆของวัสดุพิมพ์ต่างๆเหล่านี้

  1. หมึกพิมพ์

  2. แม่พิมพ์

 

guest

Post : 2017-07-03 21:16:27.0     Forum: webboard  >  โครงสร้างของเครื่องพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

*โครงสร้างของเครื่องพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ*

โครงสร้างของเครื่องพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ ได้รับแรงกระตุ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เรียกว่าระบบ คอมพิวเตอร์-ทู-เพรส โดยบริษัท เพรสเทก ได้พัฒนาแม่พิมพ์ที่สามารถใช้เลเซอร์ในการสร้างภาพได้ แทนการใช้น้ำยาเคมี ซึ่งมีข้อดีตรงที่การสร้างภาพบนแม่พิมพ์ จะทำได้ทันที บนแท่นแม่พิมพ์ โครงสร้างเครื่องพิมพ์ลักษณะนี้เรียกว่า แบบแซทเทิลไลต์ หรือ โมกดพิมพ์ร่วม โดยมีโมกดพิมพ์ขนาดใหญ่ลูกเดียว ล้อมรอบด้วยหน่วยพิมพ์ เทคโนโลยีการสร้างภาพบนแม่พิมพ์ในเครื่องพิมพ์นี้ บริษัทเพรสเทคให้ชื่อว่า Digital Imaging โดยได้นำออกสู่ตลาดการพิมพ์ครั้งแรกในปี 2534

ดังนั้น การพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งในการพิมพ์แบบดิจิทัล สำหรับพิมพ์งานด่วนที่มีความหลากหลายของการออกแบบ และงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก และสิ่งพิมพ์โฆษณา เป็นต้น รวมทั้งโรงพิมพ์ที่มีเป้าหมายต้องการสร้างแตกต่างในธุรกิจ ต้องการเพิ่มผลผลิต และสามารถเปลี่ยนงานพิมพ์ได้บ่อยๆ กับงานพิมพ์จำนวนน้อยๆ เป็นต้น

guest

Post : 2017-06-25 15:02:29.0     Forum: webboard  >  ที่มาของออฟเซตไร้น้ำ

"ที่มาของออฟเซตไร้น้ำ"

ครั้งแรกที่เทคโนโลยีออฟเซตไรน้ำถูกพัฒนาขึ้น คือ ปี พ.ศ.2473 โดย Casper Hermann เขาได้ทดลองเคลือบแม่พิมพ์ด้วยสารประกอบซิลิโคน ใช้หมึกพิมพ์ทั้งสีขาวและดำ ด้วยหลักการให้สารประกอบซิลิโคน ทำหน้าที่ต้านหมึกพิมพ์ในบริเวณที่ไม่ใช่ภาพ ทำให้บางครั้งอาจเรียกระบบนี้ว่า Siligraghy  แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมในยุคนนั้น

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2509 Greubel and Russel ได้นำความคิดของ Casper Hermann มาใช้อีกครั้งกับการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ โดยวิธีการคือการแทนที่น้ำยาเฟาว์เทนด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอนที่สามารถซึมบนผิวซิลิโคน ช่วยต้านหมึกได้ แต่เนื่องจากว่าการควบคุมคุณภาพของงานพิมพ์ทำได้ยาก จึงยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเช่นเคย

ต่อมาบริษัท 3m ออกแบบผลิตภัณฑ์แม่พิมพ์ออฟเซตไร้น้ำเป็นครั้งแรกและได้นำออกสู่ตลาด ซึ่งเรียกระบบนี้ว่า Driography แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากแม่พิมพ์ไม่คงทน และหาหมึกที่เหมาะสมกับการพิมพ์ได้ยาก จนในที่สุดบริษัท Toray Industries ได้พัฒนาต่อมาจนเปนที่ยอมรับของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และได้จดชื่อลิขสิทธ์ในชื่อ Waterless Offset Plate ในปี พ.ศ.2520

guest

Post : 2017-06-18 21:26:46.0     Forum: webboard  >  การพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

**การพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ**

การพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำหรือ waterless offset printing เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าเทคโนโลยีการพิมพ์ในยุคของการแข่งขัน ท่ามกลางความหลากหลายของสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงพิมพ์สามารถเพิ่มผลผลิตได้งานคุณภาพสูง แตกต่างไปจากงานพิมพ์ออฟเซตทั่วไป ซึ่งสิ่งที่เห็ฯได้ชัด คือ ความคมชัดของสิ่งพิมพ์ คอนเปรียบต่าง(contrast) และการผลิตน้ำหนักสีบริเวณเงา และการพิมพ์แบบออฟเซตไร้น้ำสามารถสร้างตลาดสิ่งพิมพ์ใหม่ อีกทั้งยังเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย 

ระบบการพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำได้กลายเป็นอีกทางเลือกของอุตสาหกรรมการพิมพ์และโรงพิมพ์ต่างๆ โดยเฉพาะงานพิมพ์ประเภทคอมเมอร์เชียล บรรจุภัณฑ์ ฉลากการพิมพ์บนพลาสติก และแผ่นซีดี ทั้งนี้มีเหตุผลหลายประการที่น่าสนใจดังนี้ ดังนี้

  • ภาพพิมพ์มีความคม สีสดใสขึ้น

  • ระบบทำงานเป็นแบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์-ทู-เพรด (CTP) และคอมพิวเตอร์-ทู-เพรส (CT-Press) 

  • แม่พิมพ์สามารถใช้กับหมึกยูวีได้ ทำให้คุณภาพพิมพ์สูงขึ้น

ในชุดบทความนี้เราจะพูดถึงเกี่ยวกับเทคโนโลยีของระบบพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ โดยหัวข้อหลักๆที่จะพูดถึง คือ 

  1. ที่มาของเทคโนโลยีออฟเซตไร้น้ำ

  2. โครงสร้างของเครื่องพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

  3. เทคโนโลยีวัสดุพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

  4. เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

  5. คุณภาพงานพิมพ์สิ่งพิมพ์ของระบบพิมพ์ออฟเซตไร้น้ำ

guest

Post : 2017-06-13 14:29:29.0     Forum: webboard  >  การวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ออฟเซต

**การวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์**

ปัญหาการพิมพ์ที่พบเสมอในโรงพิมพ์และช่างพิมพ์มักจะมองข้าม คือ

การพิมพ์พร่า หรือ เรียกกันว่า Slur ที่มีผลต่อความคมของภาพพิมพ์ทำให้ความละเอียดของภาพและคุณภาพสีลดลง ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากผลของการลื่นไถลของผ้ายางภายใต้แรงกดที่มากกว่าปกติที่ตำแหน่งนิบ Nip ระหว่างโมผ้ายางกับโมแม่พิมพ์และโมผ้าบางกับโมกดพิมพ์ เนื่องจากความเร็วที่ผิวของโมทั้งสองไม่เท่ากัน ม่ีสาเหตุมาจากขนาดโมที่แตกต่างกัน เพราะการรองหนุนโมแม่พิมพ์กับโมผ้ายางไม่เหมาะสม รวมทั้งการตั้งแรงกดพิมพ์ไม่ถูกต้อง ซึ่งช่างพิมพ์ควรทราบและศึกษาข้อกำหนดเหล่านี้จากคู่มือการใช้เครื่องพิมพ์นั้นมาก่อน เช่นเมื่อแรงกดพิมพ์ระหว่างโมผ้ายางกับโมแม่พิมพ์มากเกินไป ทำให้เกิดปรากฏการณ์ผ้ายางยุบหรือกองที่บริเวณนิบ เมื่อให้ความเร็วในการหมุนโมเพิ่มขึ้น โอกาสของการลื่นไถลของผ้ายางในส่วนนี้จะเกิดได้ง่ายขึ้น ภาวะการพิมพ์พร่าสามารถประเมินได้จากการเปรียบเทียบขนาดเม็ดสกรีนในแนวนอนและแนวตั้ง เรียกว่า อัตราพร่าของภาพ หรือ วิธีการวัดความดำ แทนก็ได้ ในขณะที่ความคมของภาพจะทำการวิเคราะห์ความหยาบของสัญญาณที่ได้จากขอบภาพ

guest

Post : 2017-05-26 00:03:09.0     Forum: webboard  >  น้ำยาเฟาว์เทน

 น้ำยาเฟาว์เทน

น้ำยาเฟาว์เทนทำหน้าที่แยกส่วนบริเวณภาพกับส่วนบริเวณที่ไม่ใช่ภาพบนแม่พิมพ์ออฟเซตออกจากกัน โดยให้ส่วนบริเวณภาพรับหมึกพิมพ์และบริเวณที่ไม่ใช่ภาพรับน้ำยาเฟาว์เทนเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการสกัม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รวมตัวกับหมึกพิมพ์ในระบบ เพื่อช่วยลดความเหนียวของหมึกพิมพ์ให้ง่ายต่อการแยกชั้นในการถ่ายโอนระหว่างลูกกลิ้งด้วยปริมาณที่ถูกต้อง

น้ำยาเฟาว์เทนมีส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้

1. กรด

2. กัมอารบิก

3. สารหน่วงการกัดกร่อน

4. สารช่วยเปียก

5.สารกันฟอง

6. ตัวกระตุ้นการแห้ง


โดยปกติแล้วน้ำยาเฟาว์เทนที่โรงพิมพ์สั่งซื้อมาใช้ในการผลิตสิ่งพิมพ์ จะเป็ฯน้ำยาเข้มข้นเรียกว่า Fountain Concentration, Fountain etch หรือ Etch ซึ่งก่อนจะนำไปใช้งาน ช่างพิมพ์จะต้องผสมกับน้ำให้เจือจางตามที่กำหนดสำหรับค่าความเป็นกรด-ด่าง โดยค่าจะกำหนดไว้ที่ระหว่าง 4.5-5.5

guest

Post : 2017-05-16 12:52:34.0     Forum: webboard  >  ผ้ายางในระบบพิมพ์ออฟเซต

"ผ้ายาง (Blanket)"

ผ้ายางเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญกับระบบการพิมพ์ออฟเซต ซึ่งหน้าที่ของผ้ายาง คือ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายโอนภาพจากแม่พิมพ์พื้นราบไปสู่กระดาษพิมพ์ โดยจะไม่มีการสูญเสียปริมาณหมึกพิมพ์ทีไ่ด้รับจากแม่พิมพ์ นอกจากนี้ ผ้ายางยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายโอนหมึกไปบนผิวกระดาษได้เต็มที่

ผ้ายางสำหรับการพิมพ์ออฟเซตมี 2 แบบ คือ

1. แบบหยุ่นตัว

2. แบบไม่หยุ่นตัว


การเลือกใช้ผ้ายาง ทางโรงพิมพ์จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัสดุสิ่งพิมพ์ และคุณภาพงานพิมพ์ที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับความแข็ง ความหยาบของผิว ความหยุ่นตัว และ ความหนาของผ้ายาง 


ปัญหาผ้ายางกับคุณภาพงานพิมพ์

  • ปัญหาคุณภาพงานพิมพ์ที่เกิดขึ้นจากผ้ายางในระหว่างการพิมพ์ มีหลายสาเหตุ เช่น 

  • ผ้ายางแรงตึงมากเกินไป

  • รองหนุนหนาเกินไป

  • เกิดรอยขอบกระดาษ

  • ผ้ายางแตก 

เป็นต้น

ผ้ายางที่ดีควรมีสมบัติคงเดิม มีความหนาสม่ำเสมอ ไม่ยืดหรือหด ในนระหว่างการพิมพ์


รองหนุนผ้ายาง

มีหน้าที่ช่วยปรับระดับความสูงของผ้ายางที่บ่าโม ของผ้ายางให้เหมาะสมกับความสูงของแม่พิมพ์ที่บ่าโมของโมแม่พิมพ์ เพื่อให้เกิดแรงกดตามที่ต้องการ ถ้าไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาเหล่านี้ได้ 

  • เม็ดสกรีนบวมมากเกินไป

  • เกิดภาพหลอก

  • อายุการใช้งานของผ้ายางสั้นลง

 

guest

Post : 2017-05-14 11:44:21.0     Forum: webboard  >  ลูกกลิ้งยางระบบพิมพ์ออฟเซต

**ลูกกลิ้งยาง (Rubber Roller)**

 

    ลูกกลิ้งในระบบพิมพ์ออฟเซตนั้น เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญของเครื่องพิมพ์ออฟเซต ซึ่งวัสดุที่นำมาทำลูกกลิ้งมีหลายชนิด เช่น ยาง เหล็ก และ พลาสติกแข็ง โดยแต่ละวัสดุจะให้คุณสมบัติไม่เหมือนกัน 

    แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงลูกกลิ้งยาง เนื่องจาก ลูกกลิ้งยางมีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การถ่ายโอนและแยกชั้นหมึกพิมพ์แลละน้ำยาเฟาว์เทน ดังนั้นทางโรงพิมพ์เองควรจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลูกกลิ้งยาง 

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับลูกกลิ้งยาง

1. ประเภทของยางที่ใช้ทำลูกกลิ้ง

2. การเกิดปฏิกิริยากับตัวทำละลาย น้ำยาล้างเครื่องพิมพ์ และ หมึกพิมพ์

3. วัตถุดิบและสารเคมีที่ใช้ทำลูกกลิ้ง


ประเภทของลูกกลิ้งยางและปัญหาการเปลี่ยนแปลงขนาด

   การที่ลูกกลิ้งยางเปลี่ยนแปลงขนาดบนแท่นพิมพ์ เกิดจากยางทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำยาทำความสะอาดหรือตัวทำละลายในหมึกพิมพ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างโมเลกุล ความเป็นขั้ว และ ไม่มีขั้ว ทำให้ขนาดของลูกกลิ้งยางนั้นใหญ๋ขึ้นหรือเล็กลงได้ จากการดูดซับน้ำยาเข้าไปในเนื้อยางก่อน ทำให้เกิดการบวม จากนั้นน้ำยาจะระเหยหรือไหลออกเพื่อทำการคืนตัวยาง ทำให้เกิดการหดตัว


การป้องกันการบวม-หดของลูกกลิ้งยาง

1. ช่างพิมพ์ต้องทำความสะอาดลูกกลิ้งทันทีทุกครั้งหลังทำการพิมพ์ 

2. ไม่ควรหยุดเครื่องพิมพ์ทิ้งให้หมึกค้างไว้ที่หน่วยพิมพ์นานๆ

3. การเก็บรักษาลูกกลิ้งยาง ไม่ควรแขวน หรือตั้งไว้เดี่ยวๆ หลึกเลี่ยงไม้ให้สัมผัสกับแสงแดดและโอโซน โดยใช้กระดาษทึบแสงพันรอบลูกกลิ้ง และเก็บไว้ในห้องมืด ควบคุมอุณหภูมิ 23-25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 50 เปอร์เซนต์

guest

Post : 2017-05-12 00:50:08.0     Forum: webboard  >  วัสดุทางการพิมพ์ออฟเซตอื่นๆ

*วัสดุทางการพิมพ์ออฟเซตอื่นๆ*

การที่โรงพิมพ์จะผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ออฟเซตให้ได้คุณภาพที่ดีหรือคุณภาพสูง

ปัจจัยที่สำคัญคือการที่โรงพิมพ์เลือกใช้วัสดุทางการพิมพ์ที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของเม็ดสกรีน การบวมของเม็ดสกรีน การผลิตน้ำหนักสีของภาพ และสภาพพิมพ์ได้ของกระดาษและหมึกพิมพ์

 

วัสดุทางการพิมพ์ออฟเซต ที่กล่าวถึง คือ 

1. ลูกกลิ้ง

2. ผ้ายาง

3. น้ำยาเคมีต่างๆ


ช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์ควรมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของการใช้งานวัสดุเหล่านี้ให้ถูกต้อง

1 | 2 | 3 | 4 다음 끝

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ รับผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ทุกประเภทในราคาย่อมเยาว์ บริการถูกใจและรวดเร็ว สิ่งพิมพ์คุณภาพดี ส่งสินค้าตรงเวลา