Support
Topmulti
02-467-5353,063-373-4722 , 063-373-4723
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

หน่วยทำชื้นเครื่องพิมพ์ออฟเซต

วันที่: 2017-04-18 18:14:49.0view 1592reply 0

"หน่วยทำชื้น"

  • หน้าที่ของหน่วยทำชื้นในระบบพิมพ์ออฟเซต คือ ถ่ายโอนน้ำยาเฟาว์เทนไปเกาะเป็นชั้นฟิล์มบางๆที่ผิวแม่พิมพ์

  • โดยส่วนที่ไม่ใช่ภาพ น้ำยาจะยึดติดกับผิวแม่พิมพ์ ป้องกันไม่ให้รับหมึก ไม่งั้นจะเกิดภาพเปื้อนรอยคราบหมึก หรือเรียกว่า Scum

  • และส่วนที่เป็นภาพ น้ำยาจะไม่ยึดติดกับผิวแม่พิมพ์เพราะไม่มีพันธะเคมี ดังนั้นน้ำยาจะลงไปแขวนลอยในเนื้อแทน เรียกว่า เกิดอิมัลชั่น (Emulsion) โดยที่อัตราส่วนการรวมตัวถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและสำคัญ เพราะจะมีผลต่อ ระยะเวลาในการเกิดจุดสมดุลของอิมัลชั่นระหว่างการพิมพ์ และ อัตราการระเหยของน้ำยาออกจากหมึกพิมพ์หลังจากที่ถูกถ่ายโอนไปโมผ้ายางและกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์

  • อัตราส่วนควรจะอยู่ที่ประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ ถ้ามากเกินไป จะมีผลต่อคุณภาพสิ่งพิมพ์ เช่น เม็ดสกรีนพร่า บางทีที่ขอบเม็ดสกรีนเกิดรอยแยกเป็นแฉกคล้ายเกล็ดหิมะ (snow flake)

  • ข้อสังเกต การรวมตัวของหมึกพิมพ์กับน้ำยาเฟาว์เทน จะช่วยทำให้การแยกชั้นหมึกในการถ่ายโอนของหน่วยจ่ายหมึกทำได้ง่ายและควบคุมได้

ประเภทของหน่วยทำชื้นมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. หน่วยทำชื้นทางตรง (Direct dampening system)

2. หน่วยทำชื้นทางอ้อม (Indirect dampening system) 


1. หน่วยทำชื้นทางตรง 

- ลูกกลิ้งเหล็กรางน้ำจะทำหน้าที่ถ่ายโอนน้ำยาเฟาว์เทนไปยังลูกกลิ้งดัคเตอร์ที่สามารถยกขึ้นลงและเคลื่อนที่หน้าหลังได้ ไปแตะลูกกลิ้งเกลี่ยน้ำ

- หลังจากนั้นถ่ายโอนน้ำยาเฟาว์เทนต่อไปยังลูกกลิ้งน้ำแตะเพลตสองลูก

- โดยลูกกลิ้งดัคเตอร์และลูกกลิ้งน้ำแตะเพลตมีผ้าหุ้ม ช่วยซับน้ำยาเฟาว์เทนไม่ให้ระเหยเร็วไป

* ข้อจำกัด ของหน่วยทำชื้นแบบทางตรง คือ การทำงานของลูกกลิ้งดัคเตอร์ไม่ต่อเนื่อง ทำให้เสียเวลาในการเพิ่มลดปริมาณน้ำยา และอาจจะทำให้ตัวผ้าหุ้มลูกกลิ้งอาจเปื้อนหมึกได้ ทำให้ถ่ายโอนไปโดนรางน้ำยาเฟาว์เทนได้ ยังสามารถย้อนกลับไปลูกกลิ้ง จนทำให้เกิดสีพื้นอ่อนในที่ไม่ใช่ภาพเรียกว่า ขึ้นพื้น (Tinting)

2. หน่วยทำชิ้นทางอ้อม

- หมึกพิมพ์กับน้ำยาเฟาว์เทนจะผสมกันบางส่วน รวมตัวกันก่อน แล้วค่อยถ่ายโอนไปยังแม่พิมพ์ ทำให้ถึงจุดสมดุลเร็วขึ้นระหว่างการพิมพ์ ถือเป็นข้อดีกว่ารูปแบบทางตรง และ ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ในโรงพิมพ์ต่างๆ

- ซึ่งแบบทางอ้อมจะต่างจากทางตรง ตรงที่ ลูกกลิ้งน้ำแตะเพลตจะมีเพียง 1 ลูกที่รับน้ำยาเฟาว์เทนโดยตรงมาจากลูกกลิ้งเกลี่ยน้ำ ลูกกลิ้งหมึกแตะเพลตที่ 1 จะทำหน้าที่แทนลูกกลิ้งน้ำแตะเพลตลูกที่สอง แต่ก็ยังรับน้ำยาเฟาว์เทนมาเหมือนกับรับหมึก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ระบบทางอ้อม

 

**ข้อสังเกต**

การใช้ Alcohol ผสมกับน้ำยาเฟาว์เทน จะทำให้ระเหยเร็ว ซึ่งหมายความว่าจะผลิตงานความเร็วสูงได้ อีกทั้งยังลดปัญหากระดาษยืด จ่ายน้ำยามากไป และ ภาพเม็ดสกรีนคมชัด แต่การใช้ Alcohol อาาจจะเป็นผลต่อสุขภาพ ของบุคลากร หรือ ช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์นั้นเอง จึงต้องเลือกใช้สารละลายที่เหมาะสม

สำหรับเครื่องพิมพ์ป้อนม้วน ต้องมีความเร็วสูงและต้องดี ดังนั้นเป้าหมายคือ การถ่ายโอนน้ำยาไปยังแม่พิมพ์สม่ำเสมอ เท่ากัน และต่อเนื่อง ในระหว่างการพิมพ์

 

 

 

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

โควท

ความคิดเห็น

วันที่: Wed Apr 24 11:55:20 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Replys: 0   Pages: 1/0

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ รับผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ทุกประเภทในราคาย่อมเยาว์ บริการถูกใจและรวดเร็ว สิ่งพิมพ์คุณภาพดี ส่งสินค้าตรงเวลา