Support
Topmulti
02-467-5353,063-373-4722 , 063-373-4723
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

หน่วยจ่ายหมึกเครื่องพิมพ์ออฟเซต

วันที่: 2017-04-15 13:27:42.0view 2165reply 0

"หน่วยจ่ายหมึก"

  • หน้าที่หลักของหน่วยจ่ายหมึกชัดเจนอยู่แล้วในชื่อของตัวมันเอง นั่นคือทำหน้าที่ถ่ายโอนหมึกจากรางหมึกไปยังโมแม่พิมพ์ ผ่านลูกกลิ้งจำนวนมาก เพื่อช่วยวบควบคุมความหนาของชั้นหมึกให้ได้ตามที่ต้องการเพื่องานสิ่งพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน 

  • “ความหนาชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์ในอุดมคติ” ที่ควรจะอยู่บนกระดาษควรจะมีค่าอยู่ที่ 1 ไมครอน เช่นเดียวกับความหนาชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์บนโมผ้ายางซึ่งควรจะมีความหนาที่ 1 ไมครอนเพราะว่าชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์ออฟเซตควรจะถูกถ่ายโอนจากผ้ายางไปยังผิวกระดาษทั้งหมด ซึ่งทำให้ความหนาชั้นฟิล์มของหมึกบนแม่พิมพ์จึงควรเป็น 2 ไมครอน เนื่องจาก หมึกจากลูกกลิ้งหนึ่งไปอีกลูกกลิ้ง ความหนาของหมึกพิมพ์จะถูกแยกออกครึ่งนึง

  • สาเหตุที่เราต้องการชั้นหมึกที่บาง เพราะว่าความบางนี่เองที่จะช่วยให้ชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์มีความโปร่งใสมาก เมื่อพิมพ์ซ้อนทับกันหลายชั้นหรือหลายสี (พิมพ์ 4 สี) จะทำให้ผสมกันให้เฉดสีที่ถูกต้องโดยไม่สูญเสียรายละเอียดของภาพ

**********

      การที่จ่ายหมึกได้ชั้นฟิล์มที่บางได้นั้น ถือเป็นข้อได้เปรียบข้อนึงของระบบการพิมพ์ออฟเซตที่เหนือกว่าระบบการพิมพ์อื่น ๆ นอกจากนี้คุณภาพงานที่ดีจะขึ้นอยู่กับ สมบัติความหนืดและค่าความถ่วงจำเพาะ (Bulk) ของหมึกพิมพ์ อีกด้วย โดยจะต้องสัมพันธ์กับจำนวนลูกกลิ้งในระบบจ่ายหมึกด้วย

**********

 

ลูกกลิ้งต่าง ๆในหน่วยจ่ายหมึก ประกอบด้วย

  • ลูกกลิ้งเหล็กรางหมึก (Ink Fountain Roller)

  • ลูกกลิ้งดัคเตอร์ (Ducter Roller) - สามารถยกตัวได้ ซึ่งแตะระหว่างลูกกลิ้งรางหมึกกับลูกกลิ้งถ่ายโอนหมึก

  • ลูกกลิ้งถ่ายโอนหมึก (Ink Transfer Roller)

  • ลูกกลิ้งเฉลี่ยหมึก (Ink Distributer Roller) - เคลื่อนที่ซ้ายขวาระหว่างลูกกลิ้งหมุนไปด้วย

  • ลูกกลิ้งไรเดอร์ (Rider Roller) – ให้ช่างพิมพ์สามารถปรับปริมาณหมึกได้ด้วยมือ

  • ลูกกลิ้งหมึกแตะเพลต 4 ลูก (Ink Form Rollers) – โดยจะมีขนาดที่ต่างกัน เพื่อช่วยให้จ่ายหมึกบนแม่พิมพ์มีความสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น ป้องกันการเกิดภาพหลอก (Ghost Image)

 

วัสดุที่สามารถนำมาใช้ทำลูกกลิ้ง คือ เหล็ก ยาง และ พอลิเมอร์แข็ง โดยลูกกลิ้งที่ติดกันจะต้องไม่ใช่ลูกกลิ้งที่ทำมาจากวัสดุเดียวกัน

แรงเบียดระหว่างลูกกลิ้งมีความสำคัญ ใช้ระยะ nip width หรือความกว้างของแถบหมึกที่แนวลูกกลิ้งทั้งสองเบียดกันเป็นเกณฑ์กำหนด โดย หน่วยคือ มิลลิเมตร แตกต่างกันออกไประหว่างลูกกลิ้งคู่หนึ่งๆ ตามคู่มือที่มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์

 

***ถ้าค่าแรงเบียดไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดการแยกชั้นหมึกไม่เหมาะสม ความหนาของชั้นหมึกไม่เป็นไปตามที่ต้องการ รวมทั้งยังจะทำให้เครื่องพิมพ์ไม่สมดุล อาจจะทำให้ลูกปืนของแกนลูกกลิ้งเหล่านี้สึกกร่อน เสื่อมสภาพได้***


ข้อสังเกต

  1. หน่วยจ่ายหมึกพิมพ์ที่ดีควรจะมีระบบหล่อเย็นในหน่วยด้วย เพื่อที่จะควบคุมอุณหภูมิของเนื้อพิมพ์ไม่ให้สูงเกินไป ( 25-30 องศาเซลเซียส ) โดยปกติแล้ว ลูกกลิ้งหมึกที่ทำจากโลหะมักจะมีระบบหล่อเย็นอยู่ภายใน

  2. ความแข็งของผิวลูกกลิ้งยาง จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เกินค่าที่กำหนดมาจากโรงงาน ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการถ่ายโอนหมึกไม่คงที่

 

 

 โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ เทคโนโลยีการพิมพ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาญ

โควท

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Mar 29 08:08:56 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Replys: 0   Pages: 1/0

โรงพิมพ์ท็อปมัลติพริ้นทส์ รับผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ทุกประเภทในราคาย่อมเยาว์ บริการถูกใจและรวดเร็ว สิ่งพิมพ์คุณภาพดี ส่งสินค้าตรงเวลา